โครงการร้อยพลังการศึกษา

(Thailand Collaboration for Education : TCFE)

คือ โครงการความร่วมมือเชื่อมร้อยพลังผู้คนในสังคมไทยที่มีเป้าหมายพัฒนาคุณภาพการศึกษา และช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ด้อยโอกาส เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นกับสังคมไทย

“ร้อยพลังการศึกษา” ดำเนินการและบริหารงานโดย
“โครงการร้อยพลังเปลี่ยนประเทศ มูลนิธิเพื่อคนไทย”
ซึ่งมีพันธกิจมุ่งเน้นเชื่อมโยงทรัพยากรด้านต่างๆ ทั้ง “ทุนมนุษย์” และ “ทุนเงิน” จากผู้ที่เป็น ”ผู้ให้”
ไม่ว่าจะเป็นอาสาสมัคร หรือผู้บริจาค แล้วบูรณาการอย่างมีกลยุทธ์ก่อนเชื่อมต่อให้ “ผู้รับ”
นำไปสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์

ตราสัญลักษณ์

เป็นรูปหกเหลี่ยม (Hexagons) สองชิ้นเชื่อมต่อกัน เพราะเป็นองค์ประกอบที่มีการพิสูจน์แล้วว่า รูปทรงนี้สามารถรับน้ำหนักภายใต้แรงอัดสูง มีความแข็งแรงมากที่สุดเมื่อเทียบกับรูปทรงอื่น และเป็นรูปทรงที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ เช่น “รังผึ้ง” ข้อดีคือเป็นโครงสร้างที่ สามารถเก็บน้ำผึ้งได้ในปริมาณมาก สอดคล้องกับคุณค่าหลักของโครงการที่มุ่งเน้นผสานความร่วมมือจากผู้คนจำนวนมาก ช่วยกันแก้ปัญหาสังคมขนาดใหญ่ ยิ่งเกิดการมีส่วนร่วมของผู้คนมากเท่าไหร่ ยิ่งจะบรรเทาความรุนแรงของปัญหาได้มากขึ้นเท่านั้น

คณะทำงาน

โครงการร้อยพลังการศึกษามีคณะทำงานหลักประกอบด้วย คณะทำงานโครงการร้อยพลังเปลี่ยนประเทศ มูลนิธิเพื่อคนไทย และภาคีเครือข่ายเริ่มต้น 9 องค์กร ประกอบด้วย

ภาคีกลุ่มพัฒนาเยาวชนและคุณภาพการศึกษา

 ภาคีกลุ่มสนับสนุน

 

บทบาทคณะทำงาน

“ร้อยพลังเปลี่ยนประเทศ”

มูลนิธิเพื่อคนไทย

  • เป็นแกนประสานงานเชื่อมร้อยทุกฝ่าย เพื่อให้งานร้อยพลังการศึกษาเป็นไปตามแผนและบรรลุเป้าหมาย ทั้งการกำหนดเป้าหมายร่วมการประสาน ติดตาม อำนวยความสะดวกให้ภาคีสามารถดำเนินงานด้วยความราบรื่นและมีประสิทธิผล
  • เป็นผู้ระดมทรัพยากรและสร้างความร่วมมือกับสาธารณชน ทั้งการระดมทุนเงินและทุนมนุษย์ก่อนจะนำทรัพยากรที่ได้ไปบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โครงการ

วิธีการทำงาน

“ร้อยพลังการศึกษา”
จะเลือกสรรเและรวบรวมเครื่องมือที่มีผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้แก่เด็กและโรงเรียนเป้าหมาย เน้นให้ความช่วยเหลือต่อเนื่องอย่างน้อย 6 ปีการศึกษา บนสมมติฐานว่าโครงการสามารถส่งมอบทุกเครื่องมือ หรือส่งมอบได้มากที่สุดตามความต้องการและความพร้อมของแต่ละโรงเรียน ด้วยเครื่องมือและวิธีบริหารจัดการแบบนี้ทำให้มั่นใจได้ว่า วิธีการของร้อยพลังการศึกษาจะเป็นวิธีการหนึ่งที่นำพาเงินของผู้บริจาคไปช่วยเด็กกลุ่มเป้าหมายได้ทันทีและในอนาคตยังจะมีเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กเพิ่มเติมเข้าได้อีก ตามความพร้อมของโรงเรียนและการมีส่วนร่วมของคนในสังคม

วิสัยทัศน์ระยะยาว

เกิดการขยายผลการมีส่วนร่วม
โดยจะมีภาคี “ท้องถิ่น” เข้ามาร่วมเป็นผู้พัฒนาและสนับสนุนเด็กและโรงเรียน ในโครงการร้อยพลังการศึกษาในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ขณะเดียวกัน ยังคาดหวังว่า วิธีการทำงานแบบนี้จะนำไปสู่การขยายผลการลงมือปฏิบัติในระดับนโยบาย เพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กไทยจากการมีโอกาสทางการศึกษา ทั้งการเข้าถึงทุนและคุณภาพทางการศึกษาที่เท่าเทียมกัน

ลงทะเบียนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงกับเรา