ถ้าย้อนเวลากลับไปได้จะเลือกเรียนอะไร

ตอนเด็กๆ ที่ครูให้เขียนอาชีพที่ใฝ่ฝัน
บางคน..ได้เป็นในสิ่งที่เขียน
บางคน..ค้นพบตัวเองใหม่
แต่บางคน..อาจไม่ได้เป็นสิ่งที่อยากเป็นเพราะ ‘กลัว’ อะไรบางอย่าง


‘น้องแพร’ สาวน้อยใส่แว่นที่คนอื่นอาจมองว่าเธอเป็นเด็กเรียน แต่ในมุมของแพรเอง เธอไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นเด็กเรียน เพราะก็มีบางวิชาที่แพรไม่อยากเรียนถึงขั้นอยากจะหนี และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอเริ่มคิดว่าถ้าขึ้น ม.4 จะเรียนสายไหนดีเพื่อจะได้ไม่ต้องเรียนวิชานั้น

คิดว่านักเรียน ม.3 อย่างแพร ไม่อยากเรียนวิชาอะไรคะ?
ณ ตอนนั้นวิชาที่เปรียบเสมือนยาขมของแพร คือ ‘คณิตศาสตร์’ แพรไม่ชอบคณิตมาตั้งแต่ประถม เวลาถึงคาบคณิตฯ ทีไร แพรอยากจะหายตัวไปเลย แต่แล้ววันหนึ่ง…
เมื่อแพรไปเจอเหตุการณ์คนประสบอุบัติเหตุ วินาทีที่ได้ยินเสียงดังโครม! มองเห็นร่างของผู้บาดเจ็บนอนอยู่ที่พื้น แพรอยากวิ่งเข้าไปช่วยทำอะไรบางอย่างก็ได้ที่จะช่วยคนตรงหน้าแต่แพรทำอะไรไม่ได้เลยแพรไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหนตอนนั้น ความคิดที่ผุดขึ้นมาในหัว “ถ้าเราเป็นหมอก็คงดี” แต่กลับมีอีกเสียงค้านว่า แต่จะเป็นหมอก็ต้องเรียนคณิตฯสิ เราไม่ชอบเรียนวิชานี้เลย

จนกระทั่ง ที่โรงเรียนได้นำเครื่องมือทางการศึกษาใหม่เข้ามาให้นักเรียนได้ใช้ในรายวิชา คณิตศาสตร์ ชื่อว่า
“เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น (Learn Education)”

การเรียนคณิตศาสตร์ผ่านโปรแกรมเลิร์น เอ็ดดูเคชั่น ทำให้แพรเรียนจากการเห็นภาพ สามารถทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเอง จากความกลัวกลายเป็นเริ่มสนุก ผ่อนคลายและกลายเป็นความชอบเพราะพอเข้าใจมากขึ้นก็ทำให้ชอบคณิตฯมากขึ้น

“ดีมากๆ เลยค่ะที่มีเครื่องมือเข้ามา มันเข้าใจมากกว่าเดิม เรียนเพลินไม่เครียด ตอนต้น ๆ คาบก็อาจจะเครียดแต่พอเรียนไปถึงกลางคาบหรือปลายคาบ เหมือนเราเข้าใจแล้ว เราก็สนุกจากที่ตอนแรกหนูวางแผนจะเรียนสายศิลป์ภาษา เพราะหนูไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ แต่ตอนนี้หนูตั้งใจว่าจะเรียนสายวิทย์-คณิตฯ เพราะหนูมีความฝันที่อยากจะเป็นหมอค่ะ”  แพรเล่าด้วยสายตาที่มุ่งมั่น

บางทีความกลัวก็เหมือนเขม่าควันที่มาบดบังแสงของลูกแก้ว ศักยภาพที่แท้จริงไม่สามารถเปล่งประกายออกมาได้เต็มที่ เช่นเดียวกับความกล้าที่จะไล่ล่าความฝันของใครสักคน มันอาจต้องการตัวช่วยเพียงนิดเดียวเพื่อให้พวกเขามั่นใจว่าเขาทำสิ่งนั้นได้ เครื่องมือทางการศึกษาจึงมีส่วนช่วยในการปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิด ลดอุปสรรคที่ขวางกั้นทางแห่งความฝันของเด็กคนหนึ่ง ทำให้เขาพร้อมจะลุกขึ้นมาวิ่งตามความฝันของตัวเอง และเชื่อว่าเขาทำมันได้ 

สิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียน Learn Education การเรียนของนักเรียนจะไม่ถูกจำกัดแค่ในห้องเรียนเท่านั้น แต่จะไปสู่ “เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่จำกัดแค่ในห้องเรียน” เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าถึงระบบการเรียนออนไลน์ได้อย่างครบวงจร และเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตนเอง  เป็นส่วนหนึ่งในการลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เนื่องจากนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลไม่สามารถเข้าถึงการเรียนกวดวิชาได้  เพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้และการพัฒนาตัวเองของนักเรียนที่ห่างไกล

ไม่เพียงแต่นักเรียนสามารถทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเอง แต่เกิดบรรยากาศที่เพื่อนที่นั่งข้างๆ กัน สอนกันเอง เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันรวมไปถึงคุณครูผู้สอนคอยเดินสังเกตและเข้าไปอธิบายเพิ่มเติมให้กับนักเรียนที่ไม่เข้าใจ และจากที่นักเรียนกลัวเวลาที่ต้องยกมือถามคำถามกลายเป็นวัฒนธรรมปกติในห้องเรียนที่นักเรียนยกมือแล้วคุณครูก็เดินเข้าไปหา ตอบคำถามนักเรียนหรือช่วยแก้ไขปัญหาให้กับนักเรียนอย่างใกล้ชิด

น้องแพรเสริมว่า “แบบฝึกหัดถ้าได้ทำทั้งของครูและของเลิร์นมันจะทำให้เราเข้าใจมากขึ้น บางที ไม่เข้าใจก็ถามเพื่อน ปรึกษากับเพื่อน หรืออาจจะกลับไปเรียนในเลิร์นอีกครั้งหนึ่ง แต่ถ้าเราไม่เข้าใจบางอย่าง เราจะได้ให้ครูช่วย” เรียกได้ว่าการเรียนรู้ของนักเรียนเกิดจากการรวมกันของหลายพลัง ไม่ว่าจะเป็นความช่วยเหลือจากเพื่อน คุณครู หรือเทคโนโลยีที่ส่งเสริมให้นักเรียนไทยได้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ

ขอขอบคุณเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจจาก น้องแพร นักเรียนในโครงการร้อยพลังการศึกษา จ.เชียงใหม่

#SchoolToolsxLearnEducation
#ร้อยพลังการศึกษาXLearnCorp