โค้งสุดท้ายของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ถือเป็นช่วงเวลาแห่งการตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิตของนักเรียนมัธยมปลายหลายคน และเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่พวกเขาควรได้รับการชี้แนะมากที่สุด “เลือกเรียนคณะอะไรดี” “ถ้าจะเข้าคณะนี้ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง”   โรงเรียนหลายแห่งตระหนักถึงความสำคัญของเส้นทางภายหลังการสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมฯ ของนักเรียน โดยหนึ่งในโรงเรียนเหล่านั้น คือ โรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคม จ.กาญจนุบรี ที่ได้มีการจัดอบรมแนะแนวนักเรียนของตนในด้านการเลือกคณะเรียนต่อในทุกปี แต่ทว่า.. ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ในปีที่ผ่านมานี้ การจัดการเรียนการสอนต้องตกอยู่ในสภาวะที่มีขีดจำกัด โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมแบบรวมกลุ่ม อีกทั้ง การระบาดของไวรัสนั้นมีระยะเวลายาวนาน ครูอภิปลาย เข็มเพ็ชร์ (ครูเท่ห์) และ ครูเกศริน สมบูรณ์ดี (ครูเกศ) แห่งโรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคม ได้สังเกตเห็นว่า   “การเรียนการสอนที่ผ่านมาเป็นออนไลน์ส่วนใหญ่ ทำให้ นร.ชั้น ม.6 ไม่ค่อยมีพลังหรือกำลังใจเท่าไหร่ในการเลือกเรียนต่อในระดับมหาลัย ฯ”   การเรียนออนไลน์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานส่งผลกระทบในด้านสุขภาพจิตของนักเรียน เมื่อนักเรียนกลับมาเรียนในห้องเรียน (On-site) พวกเขาไม่มีแรงกระตุ้นและขาดแรงจูงใจในการเรียนต่อหลังจบระดับมัธยมศึกษา ครูเท่ห์และครูเกศจึงได้เสนอแนวคิดการจัดกิจกรรมแนะแนวเชิงปฏิบัติการรูปแบบออนไลน์ (Online Workshop) โดยครูทั้งสองท่านได้ให้เหตุผลว่า   “ครูอยากสร้างแรงกระตุ้น และ Empower ให้ กับ นร.ระดับชั้น ม.6 ในเรื่องของการเลือกคณะเรียนต่อ อยากให้ … Read more โค้งสุดท้ายของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

แกนนำ “2S” รวมมิตรวิทยา ร้อง เต้น เล่นเกม ให้เก่งภาษาอังกฤษ

แกนนำ “2S” รวมมิตรวิทยา ร้อง เต้น เล่นเกม ให้เก่งภาษาอังกฤษ

กระบวนการของอาชีฟ จุดไฟบางอย่างในตัวเรา

ทำให้เราว้าว!! ว้าวนั้นก็คือ ทำให้เรารู้จักตัวเอง จะปรับตัวเข้าหาคนอื่นอย่างไร ทำให้เรารับฟังอย่างตั้งใจจริงๆ   ในปีแรกที่ครูศิริพร คำชวด หรือครูหนิง เริ่มสอนที่โรงเรียนวังข่อยพิทยา จ.นครสวรรค์ ครูหนิงสอนวิชาคณิตศาสตร์นักเรียนชั้น ม.ปลาย แต่ขณะเดียวกันก็ต้องรับบทครูประจำชั้นนักเรียนชั้น ม.2 และทำหน้าที่ครูแนะแนวด้วย เธอบอกว่าตอนนั้นคิดหนัก เพราะไม่มีประสบการณ์ทั้งการแนะแนวเด็ก หรือการได้รับแนะแนวมาก่อน ครูหนิงได้เห็นคุณครูที่เคยผ่านการอบรมครูแนะแนวรุ่นใหม่ สร้างเด็กไทยให้ออกแบบชีวิตตนเองได้กับอาชีฟ (a-chieve) จัดกระบวนการสอนแนะแนวในห้องเรียนได้อย่างน่าสนใจ เด็กๆ กล้าพูดคุยกับครู กล้าบอกสิ่งที่ต้องการจริงๆ ครูหนิงเล่าว่า “ก็มามองตัวเองว่าเรายังทำไม่ได้ เราถาม เด็กเงียบ เขาไม่ได้ไว้วางใจเราว่าจะช่วยเขาแก้ปัญหาได้ จะรับฟังเขาจริงๆ เราไม่รู้จะทำอย่างไร” เธอได้รับการแนะนำให้เข้าร่วมอบรมโครงการครูแนะแนวรุ่นใหม่ฯ รุ่น 3 ครูหนิงจึงตั้งใจกรอกใบสมัคร เพื่อให้ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมการอบรม ซึ่งเธอก็ได้เข้าร่วมในที่สุด “กระบวนการ 1-2 วันแรก เราสนุกกับกิจกรรม แต่ยังไม่รู้ว่าจัดเพื่ออะไร มารู้ตัวอีกทีวันสุดท้ายว่า เขาอยากให้เรารู้จักตัวเองจากทุกกิจกรรมที่เขาจัด ไม่ใช่การมานั่งฟังวิทยากร 1 คนบรรยายหน้าห้อง เขาพาเราทำกิจกรรม ซึ่งทุกกิจกรรมเรานำกลับมาใช้ได้จริงๆ เป็นกิจกรรมที่ดึงดูดความสนใจเด็ก ทำให้เขาสามารถเรียนรู้ตัวเองได้” ครูหนิงกล่าว ครูหนิงเข้ามาเป็นครูประจำชั้นแทนครูคนก่อนที่ขอย้ายกลับบ้าน … Read more กระบวนการของอาชีฟ จุดไฟบางอย่างในตัวเรา

ต่างชนเผ่าแต่เราสามัคคี

ณ โรงเรียนห้วยน้ำขุ่นวิทยา จ.เชียงราย เด็กๆ ที่มาจากต่างชนเผ่า ทั้งจีนยูนนาน อาข่า อาเข่อ ลาหู่ มักจะยกพวกตีกันเป็นประจำ ผอ.กับคุณครูจึงช่วยกันคิดว่า จะทำยังไงให้เด็กนักเรียนของเราเกิดความสามัคคีกัน? หลังจากการปรึกษาหารือระหว่างผอ.และคณะครู  ทาง โรงเรียนห้วยน้ำขุ่นวิทยา จึงคิดนำหลักลูกเสือ ซึ่งสอดแทรกการสร้างคุณธรรมด้านระเบียบวินัยให้กับนักเรียนก่อน   ในช่วงแรก การฝึกระเบียบแถวให้นักเรียนไม่ใช่ว่าจะเริ่มฝึกนักเรียนได้เลย  แต่เป็นการพัฒนาครูทั้งโรงเรียนให้มีความรู้ โดยครูทุกคนเข้ารับการฝึกอบรมการเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือครูจึงนำทักษะความรู้มาขยายผลสู่นักเรียน ให้นักเรียนฝึกระเบียบแถวเมื่อนักเรียนมีเป้าหมายเดียวกัน ได้พยายามร่วมกัน จากความรู้สึกแบ่งพรรคแบ่งพวกว่าเราแตกต่างกันทางวัฒนธรรม กลายมาเป็นความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและรู้สึกถึงความเป็นเพื่อน “การที่เด็กได้อยู่ด้วยกัน ซ้อมด้วยกัน ทำให้เขาเป็นเพื่อนกัน” การฝึกระเบียบแถวของห้วยน้ำขุ่น ไม่ได้หยุดเพียงแค่ในโรงเรียนแต่ขยายผลไปยังการแข่งขัน ระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศ  จนได้รับรางวัลระดับจังหวัง 6 ปีซ้อน และได้รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ เมื่อปี 61 จนได้รับรางวัลระดับจังหวัด 6 ปีซ้อน และได้รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ เมื่อปี 61  ไม่เพียงแต่การใช้หลักการลูกเสือพัฒนาคุณธรรมให้นักเรียนแล้วยังมีโครงงานครูต้นแบบ ที่ใช้กระบวนการยอมรับ การร่วมตกลงจากคุณครูทุกคน  เมื่อก่อนบริบทครูบนดอย เย็นมาก็ดื่มสังสรรค์กัน เพราะอยู่บ้านพักครูด้วยกันตลอดจันทร์-ศุกร์ซึ่งก็มีนักเรียนบางส่วนพักอยู่ในโรงเรียน แต่พอโรงเรียนนำเรื่อง โครงการโรงเรียนคุณธรรม เข้ามาใช้ ครูจึงตกลงกันว่า “เราจะไม่ดื่มแอลกอฮอล์ในสถานศึกษา” พอไม่ดื่ม … Read more ต่างชนเผ่าแต่เราสามัคคี

ผู้ให้จากการเห็นคุณค่าของสิ่งที่ได้รับ

‘เอิร์น’ นักเรียนหญิง ชั้น ม.2 ที่คอยไปเรียงถาดอาหารกลางวัน จัดแถวน้องประถมเข้าโต๊ะรับประทานอาหาร  มีเด็กๆ หลายคนชอบเล่นกัน แกล้งกัน จนถาดข้าวหกเลอะเทอะ บางคนทำน้ำหกใส่ข้าว เอิร์นก็จะพาน้องไปเปลี่ยนถาดข้าว พอน้องทานอาหารเสร็จ เอิร์นจะมาช่วยเก็บกวาดทำความสะอาดอาหารที่หกอยู่บนพื้น สิ่งที่เอิร์นทำอยู่ คือ การตอบแทนโรงเรียนและคุณครูที่อนุญาตให้เธอรับประทานอาหารกลางวันร่วมกับเด็กประถม  ความจริงแล้วที่โรงเรียนมีโครงการอาหารกลางวันฟรีเฉพาะแค่นักเรียนชั้นประถม ส่วนนักเรียนมัธยมจะต้องซื้ออาหารกลางวันเองที่โรงอาหาร แต่เนื่องจากบางวัน เอิร์นแทบจะไม่มีเงินมาโรงเรียนเลย คุณครูจึงอนุญาตให้เอิร์นรับประทานอาหารกลางวันกับน้องๆ ได้ ย้อนไปเมื่อตอนที่เอิร์นอยู่ชั้น ป.6 คุณครูสังเกตว่าเด็กคนนี้เป็นเด็กที่มีน้ำใจ เวลาที่วัดแถวบ้านมีงานบุญ เอิร์นก็จะไปช่วยล้างจานที่วัดตลอด  เวลามีงานตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งที่โรงเรียน ครูจะถามนักเรียนว่า  “มีใครอยากนำข้าวสารกลับบ้านไหม” นักเรียนบางคนก็อายที่จะอุ้มถุงข้าวสารกลับบ้าน แต่ไม่ใช่สำหรับเอิร์น เอิร์นไม่เคยอายที่จะเข้าไปขอถุงข้าวสารกลับบ้าน โดยคุณครูมาทราบภายหลังว่า เอิร์นอาศัยอยู่กับคุณปู่คุณย่า  คุณปู่ที่เคยเป็นเสาหลักของบ้านได้รับอุบัติเหตุขาขาด ทำให้ไม่สามารถออกไปทำงานได้เหมือนเมื่อก่อน  รายรับของครอบครัวจึงมาจากเบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุ ซึ่งแค่ใช้จ่ายค่ากับข้าวในแต่ละวันก็แทบจะไม่เพียงพอ  เอิร์นจึงเริ่มทำงานหารายได้เสริม เริ่มจากการรับจ้างถอนผมหงอกให้ผู้ใหญ่แถวบ้าน ได้เงินครั้งละประมาณ 5-10 บาท  ไปรับจ้างเสียบมันสำปะหลัง ตัดอ้อย หักฝักข้าวโพด เก็บถั่วเก็บพริก เก็บหน่อไม้ฝรั่งตามไร่ ได้ชั่วโมงละ 30 บาท ตอนบ่ายก็จะรับจ้างถางหญ้า แต่ส่วนใหญ่แล้วงานถางหญ้าไม่ค่อยจะมีคนจ้างเด็กเท่าไหร่ … Read more ผู้ให้จากการเห็นคุณค่าของสิ่งที่ได้รับ

เด็กแสบที่กลายเป็นแบบอย่าง

‘นิล’ นักเรียนที่ครูได้ยินชื่อแล้วต้องส่ายหน้า เป้าหมายการมาโรงเรียนของเขา คือการไปเล่นบอลอย่างเดียว นิลเคยโดดเรียนเพื่อไปเตะบอลถึง 6 คาบ/วัน เวลาถูกครูไล่ นิลก็จะหนีไปนั่งเล่นในห้องน้ำ ไม่ขึ้นเรียน บ้างก็โดดเรียนออกไปเล่นเกม ยังมีวีรกรรมที่เขียนฉายาล้อเลียนครูบนโต๊ะจนครูจับได้ ตั้งแต่ตอน ม.3 มีรุ่นพี่ชวนไปเที่ยวกลางคืน กินเหล้า นิลก็ไปเที่ยวทุกวัน  ตอนเช้าไปเรียนถ้าไม่โดดก็หลับ ไม่เคยเรียนเลย พอขึ้นมา ม.4 เกรดตกมาก ขนาดวิชาคณิตศาสตร์ที่นิลเก่งและถนัดที่สุด เขาเรียนแต่ไม่ส่งงานจึงได้แค่เกรด 1  เวลามีครูมาแนะแนวอะไร นิลก็ไม่ฟัง ตอนนั้นนิลคิดแค่ว่าจบ ม.6 มาก็คงหางานทำ เลี้ยงตัวเองได้  จนกระทั่ง นิลขึ้น ม.6 นิลออกไปเที่ยวกลางคืนกับเพื่อนอีกเช่นเคย ขากลับนิลนั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์เพื่อน จู่ๆ ก็มีของแข็งฟาดเข้าที่หัวของนิลอย่างแรง  นิลหันไปเห็นกลุ่มวัยรุ่น 3-4 คน แอบซุ่มอยู่บริเวณเกาะกลางถนน เห็นขวดแก้วหล่นอยู่ ตอนนั้น นิลรู้สึกโกรธแค้นและบอกให้เพื่อนขับรถกลับไปเอาเรื่อง  แต่มีผู้ใหญ่เห็นเหตุการณ์ รีบเข้ามาห้ามและบอกให้รีบไปโรงพยาบาล นิลหันกลับมาดูตัวเองอีกทีก็เลือดไหลเต็มตัวแล้ว นิลรู้สึกชา และเพิ่งรู้ว่าหัวของเขาแตก แก้วบาดใบหูของนิลเกือบขาด ผู้ใหญ่ท่านนั้นรีบพานิลส่งโรงพยาบาล หมอต้องเย็บแผลที่หัว 5 เข็ม … Read more เด็กแสบที่กลายเป็นแบบอย่าง

มาโรงเรียนไม่ได้เงินออกไปทำงานดีกว่า…

“ผมอยากเป็นไกด์ แต่ยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย ส่วนเพื่อนที่ลาออกไปตั้งแต่ ป.6 เป็นไกด์ที่ปางช้าง หาเงินได้ตั้งเยอะ” คำพูดของนักเรียนชาย ม.5 คนหนึ่งพูดกับ ผอ.ประเสริฐศักดิ์ เหมือนหาญ เขาอยากมีความรู้ มีทักษะที่จะไปประกอบอาชีพได้ แต่เมื่อลองเทียบตัวเองกับเพื่อนที่ไม่ได้เรียนดูกลับพบว่าเพื่อนที่ลาออกไปทำงานตั้งแต่ ป.6 เป็นไกด์นำเที่ยว มีรายได้เลี้ยงตัวเอง และพูดภาษาอังกฤษได้ดีกว่าตนที่เรียน ม.5 สายศิลป์ภาษา พอได้ฟังคำพูดของนักเรียนคนนี้แล้ว ผอ.ประเสริฐศักดิ์ ซึ่งเพิ่งย้ายมาเป็นผู้บริหารที่โรงเรียนแม่วินสามัคคีแทบเข่าทรุด เขาคิดว่าถ้าเป็นอย่างนี้แสดงว่าการเรียนการสอนที่เป็นอยู่ไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน ไม่ได้ตอบโจทย์พื้นที่ชุมชน  โรงเรียนแห่งนี้มีเด็กที่ลงมาจากบนดอย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ม้ง ปกาเกอะญอ มูเซอ ไทยใหญ่ ฯลฯ มาเรียนและพักที่โรงเรียนกว่า 300 คน เด็กหลายคนเรียนจบ ป.6 ก็ต้องออกไปช่วยพ่อแม่ทำงาน เพราะความยากลำบากและทัศนคติที่คิดว่ามาโรงเรียนไม่ได้เงิน ออกไปทำงานดีกว่า สิ่งนี้ คือ สิ่งที่โรงเรียนต้องต่อสู้ จะทำอย่างไรให้พวกเขาเห็นว่า การเรียนก็เหมือนการลงทุนที่ผลตอบแทนและกำไรอาจจะไม่ได้รวดเร็วทันใจแต่ต้องใช้เวลา ผอ.จึงอยากจะสร้างโรงเรียนแม่วินสามัคคีให้เป็นโรงเรียนนวัตกรรมต้นแบบของเชียงใหม่ แล้วจะสร้างนักเรียนของเชียงใหม่อย่างไรล่ะ ที่ตอบโจทย์เชิงพื้นที่ ทั้งวัฒนธรรม วิถีชีวิต และชุมชน ปี 2561 ที่ผ่านมาจึงมีการปรับเปลี่ยนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทมากขึ้น โดยมีการฝึกอาชีพให้กับเด็กๆ … Read more มาโรงเรียนไม่ได้เงินออกไปทำงานดีกว่า…

“ปัญหาก็เหมือนยาขม”

“น้อยหน่า” สาวน้อยเสียงเพราะเธอไปประกวดร้องเพลงตามเวทีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเวทีงานวัดไปจนถึงการแข่งขันระดับภาคเธอก็คว้ารางวัลชนะเลิศมาแล้ว น้อยหน่าใฝ่ฝันว่าอยากจะเป็นศิลปินตั้งแต่เด็กจะได้หาเงินส่งตัวเองเรียนและช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ ถึงน้อยหน่าอยากจะเป็นนักร้อง แต่ไม่ได้หมายความว่าเธอจะทิ้งการเรียน น้อยหน่ารู้ว่าต่อให้เธอจะเป็นนักร้อง  การศึกษาก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเธอในอนาคต   ทั้งความลำบากของพ่อกับแม่ที่น้อยหน่าเห็นมา ทำให้เธอตั้งใจว่าจะต้องเรียนให้สูงจะได้มีงานดีๆทำและเลี้ยงดูพ่อแม่กับน้องได้ในทุกๆ คืน น้อยหน่าต้องตื่นตอน 21.30 น. มาก่อไฟให้พ่อคั้นมะพร้าวเพื่อทำขนมถ้วย หลังจากนั้นเธอก็จะได้เข้านอนตอน 23.30น. แต่ถ้าเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ น้อยหน่าจะอยู่ช่วยพ่อทำขนมถ้วยจนเสร็จ  พ่อทำขนมถ้วยเสร็จประมาณ 03.30 น. ถึงจะปลุกแม่ให้นำขนมไปขายเนื่องจากว่าพ่อหัวเข่าไม่ดี เพราะเคยถูกรถชนแม่จึงเป็นผู้นำขนมถ้วยไปขายที่ตลาดทุกเช้า  น้อยหน่าช่วยพ่อแม่ทำขนมถ้วยตั้งแต่ประถม และไปประกวดร้องเพลงแม้จะได้เงินรางวัลจากมาบ้าง แต่มันก็ไม่เพียงพอต่อการเรียนต่อในระดับมัธยมและค่าใช้จ่ายในบ้านที่มีสมาชิกสี่คน แม่และน้องมีโรคประจำตัวเป็นโรคหอบ มีค่าใช้จ่ายในการรักษา น้อยหน่าคิดที่จะเสียสละหยุดเรียนออกมาทำงาน และส่งน้องเรียนต่อ คุณครูเห็นว่าน้อยหน่ามีความขยันและพยายามที่ช่วยเหลือครอบครัว จึงให้น้อยหน่าเขียนเรียงความและเอกสารขอทุนไปยังมูลนิธิยุวพัฒน์ จนในที่สุด น้อยหน่าได้รับคัดเลือกให้เป็น “นักเรียนทุนยุวพัฒน์” จากที่เกือบจะไม่ได้เรียนต่อ และเคยไม่ตั้งใจเรียนตามประสาเด็กๆทำให้น้อยหน่าเห็นว่าโอกาสที่เธอได้รับนั้นมันทำให้เธอได้มีโอกาสเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นไม่อย่างนั้น น้อยหน่าคงเรียนจบแค่ ป.6  หลังจากนั้นมาน้อยหน่าก็พยายามมากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น จนผลการเรียนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากที่เคยได้เกรด 1 กลายเป็นเกรด 3 กว่าๆ ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ตัวเลขที่เพิ่มขึ้น แต่มันสะท้อนความพยายามความตั้งใจ และการเห็นคุณค่าของโอกาสที่ตนเองได้รับ  การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มีความรับผิดชอบ และมีเป้าหมายทางการเรียนที่ชัดเจนอย่างน้อยที่สุด จะต้องเรียนจนจบ ม.6 “หลังจากได้ทุน … Read more “ปัญหาก็เหมือนยาขม”

ยังจำตอนที่ใช้ iPhone หรือ สมาร์ทโฟน (Smart Phone) ครั้งแรกได้ไหม?

จากมือถือมีปุ่มเปลี่ยนมาใช้มือถือไร้ปุ่มกด ตอนที่หลายคนใช้ครั้งแรก อาจรู้สึกว่ามันยาก ความยากนั้นคงเป็นเพราะเรา “ไม่เคยชิน” กับการใช้งาน ทุกครั้งที่เริ่มอะไรใหม่ ๆ เรามักจะรู้สึกว่า ‘มันยาก ’ แต่ถ้ามองให้ลึกลงไป ในความยากนั้นกำลังส่งสัญญาณบอกว่าเรากำลัง ‘พัฒนา’ อยู่  เช่นเดียวกับการพูดภาษาอังกฤษ คนที่พูดคล่องตอนนี้ คือ คนที่เคยผ่านจุดที่รู้สึกว่ามันยากมาก่อนด้วยการฝึกฝนหรือสร้างความเคยชินกับมัน ทำให้การพูดภาษาอังกฤษกลายเป็นทักษะติดตัว แต่จะทำอย่างไรให้เด็กไทยก้าวผ่านขั้นแรกที่ว่า ‘มันยาก’ ไปได้? “ผมโง่ครู” “หนูอ่านไม่ออก” “ใครจะไปทำได้” กรอบความคิด (Mindset) เหล่านี้ที่ฝังอยู่ทำให้เด็ก ๆ เลือกที่จะหนีด้วยการไม่ยอมพูด ไม่ยอมอ่าน ไม่ยอมเปิดใจกับภาษาอังกฤษ  ครูดีจัง ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโครงการทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ (Teach For Thailand) คิดว่าต้องมาปรับแนวความคิดตรงนี้กันก่อน เธอจึงมองหาตัวช่วยที่ทำให้คาบภาษาอังกฤษกลายเป็นเรื่อง ‘สนุก’ ผู้ช่วยของครูดีจัง มาในรูปของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า‘วินเนอร์อิงลิช (Winner English)’ เป็นโปรแกรมสอนภาษาอังกฤษที่รูปร่างหน้าตาคล้ายกับการเล่นเกมที่ให้เด็ก ๆ ได้ฝึกฝนทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน ผ่านภาพ … Read more ยังจำตอนที่ใช้ iPhone หรือ สมาร์ทโฟน (Smart Phone) ครั้งแรกได้ไหม?

ครูคิดดีแล้วหรอ จะมาสอนที่นี่ !!

“ใหญ่” นักเรียนสุดเฮี้ยว ขณะที่ครูสอน  ใหญ่มักจะเคาะโต๊ะ ร้องเพลง ตั้งวงดนตรี หรือวาดรูปที่ขาของเพื่อน  ท่าทางของใหญ่ ก็ทำตัวใหญ่สมชื่อ เขาคือคนที่แกล้งเพื่อนแล้วเพื่อนไม่กล้าโต้ตอบ   ใหญ่เคยแกล้งเพื่อนคนหนึ่งที่กำลังตั้งใจเรียน โดยเริ่มจากการตบหัวเพื่อน โยนกระดาษใส่จนเพื่อนเรียนไม่รู้เรื่อง  ครูต้องพาเข้าห้องปกครอง พอครูปกครองถามว่าใหญ่แกล้งอะไร เพื่อนก็ไม่กล้าบอกครู เพราะกลัวอิทธิพลของใหญ่ แม้กระทั่งกับครูบางคน ใหญ่ก็เคยถีบโต๊ะต่อหน้าต่อตาครู “อาจารย์ไม่ต้องสนใจมันหรอก คนทั้งห้องรออาจารย์อยู่ เพราะยังไงไอ้นี่ก็ไม่เรียนอยู่แล้ว” “เอาใหญ่ย้ายไปอยู่ห้องอื่นได้ไหม” มุมมองที่หลายคนมองใหญ่ จึงถูกตีตราไปว่าเป็น ‘ตัวปัญหา’ เวลานอกห้องเรียน ใหญ่จับกลุ่มกับรุ่นพี่ ม.4-5 กลายเป็นแก๊งหัวโจกที่ดูมีอิทธิพลในโรงเรียน แม้ว่าขณะนั้น ใหญ่จะเป็นนักเรียนชั้น ม.2 แต่พี่ๆ ม.ปลายบางคนยังไม่กล้ายุ่งจนกระทั่ง มีครูท่านหนึ่งเข้ามาสอนในโรงเรียน  ผมสีบลอนด์ทอง ใส่กางเกงลายสก็อต เสื้อลายคล้ายเดอะทอยส์ (The Toys) สวมสร้อยคอสีเงินเส้นใหญ่  ใส่ถุงเท้าข้อสั้นกับรองเท้าหนังกุชชี่ (Gucci) “ครูกรีน”  การแต่งตัวของครูกรีนที่แปลกแหวกแนว ทำให้คุณครูในโรงเรียนต่างตั้งคำถามว่าเขาจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้นักเรียนได้หรือไม่  ส่วนนักเรียนก็พากันมองครูกรีน เพราะไม่เคยมีครูคนไหนแต่งตัวแบบนี้   ครูกรีนเข้าไปสอนในห้องวันแรก สิ่งที่ครูกรีนทำ คือ ให้นักเรียนทุกคนตั้งคำถาม “ครูมีแฟนยัง” “ครูอายุกี่ปี” “ครูรวยมั้๊ย” “ครูชอบผู้หญิง หรือชอบผู้ชาย” … Read more ครูคิดดีแล้วหรอ จะมาสอนที่นี่ !!

“พ่อใหม่หนูเป็นคนต่างชาติ หนูหลบหน้า ไม่อยากพูดกับเขาเลย”

น้องมุก นักเรียนชั้น ม.3 คนที่กลัวการใช้ภาษาอังกฤษมากๆ แม้กระทั่ง คุณพ่อชาวต่างชาติ มุกยังไม่ยอมคุยด้วย เธอมักจะหนีเข้าห้องไปดูการ์ตูนอยู่คนเดียวจนกระทั่ง มุกได้มาเรียนภาษาอังกฤษกับครูเต๋อ… ครูเต๋อ เป็น คุณครูในโครงการ Teach For Thailand จบเอกภาษาและวัฒนธรรมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงตัดสินใจมาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ เพราะเป็นวิชาที่ถนัดและรู้สึกว่าตัวเองสนุกกับการเรียนภาษาอังกฤษ         ในเทอมแรก  ครูเต๋อเข้ามาสอนด้วยความกระตือรือร้นและพลังบวก แต่พอมาสอนนักเรียนจริงๆ แล้วปรากฏว่า นักเรียนไม่สนใจเรียน หลับในห้อง เคยถึงขั้นเตะตะกร้อในห้องเรียน ทำให้ครูเต๋อถึงกับช็อค! ครูเต๋อจึงพยายามทำความเข้าใจและยอมรับความเป็นจริงว่า ‘ครูเต๋อกับนักเรียนไม่เหมือนกัน’ ไม่ใช่ทุกคนจะชอบเรียนภาษาอังกฤษเหมือนครูเต๋อ เธอจึงพยายามปรับรูปแบบการสอนใหม่และคิดว่าสิ่งเดียวที่ต้องทำคือการยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง และกล้าที่จะปรับตัวเองเพื่อนักเรียน ต้องไม่ยึดติดกับหนังสือ เพราะนั่นคือสิ่งที่ครูอยากสอน แต่อาจจะไม่ใช่สิ่งที่นักเรียนอยากเรียนก็ได้  จนเมื่อครูเต๋อได้มาสอนน้องมุก        ครูสังเกตเห็นว่า มุกมีทักษะภาษาอังกฤษน้อยกว่าเพื่อน เวลาที่ครูถามคำถาม มุกมักจะไม่ตอบ แต่พยักหน้า ครูเต๋อจึงพยายามให้กำลังใจและเปิดโอกาสในการเรียนรู้โดยให้มุกได้ลองตอบ ครูเต๋อใช้การสอนอ่านแบบโฟนิกส์ (Phonics) นั้นก็คือ วิธีการเรียนอ่าน เขียนและออกเสียงภาษาอังกฤษ โดยใช้หลักการถอดรหัสเสียงและการผสมเสียงตัวอักษร A … Read more “พ่อใหม่หนูเป็นคนต่างชาติ หนูหลบหน้า ไม่อยากพูดกับเขาเลย”

คอมจะสอนดีกว่าครูได้อย่างไร?

“ครูครับ หูฟังผมไม่ดัง” “ครูคะ คอมหนูค้าง” “ครู เน็ตเข้าไม่ได้”  ลำพังแค่การออกแบบการสอนตามปกติก็ใช้เวลามากแล้ว แต่พอมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาทำให้ครูต้องทำงานหนักขึ้น 2 เท่า ครูกิ๊ก ครูคณิตฯ ที่ได้ใช้โปรแกรม “เลิร์นเอ็ดดูเคชั่น (Learn Education)” โปรแกรมคอมพิวเตอร์สอนคณิตศาสตร์ในการสอนนักเรียนชั้น ม.ต้น สิ่งที่ครูกิ๊กต้องเผชิญคือในช่วงแรก ครูยอมรับเลยว่าห้องเรียนค่อนข้างเละเทะ เพราะครูเองก็ยังไม่รู้ว่าจะผสมผสานการสอนของครูและคอมฯ ได้อย่างไร  ความอลหม่านในคาบเรียน ที่ต้องแก้ปัญหาทางเทคนิค  ครูกิ๊กรู้สึกว่าตนเองใช้พลังงานในคาบเรียนเลิร์นเอ็ดดูเคชั่นมากกว่าการสอนด้วยตนเองเสียอีก แค่กว่านักเรึยนจะเปิดคอมฯ เข้าโปรแกรมก็กินเวลาเรียนไปมากแล้ว ครูกิ๊กจึงเริ่มปรับวิธีการใหม่โดยไปเปิดคอมฯ รอนักเรียนก่อนหรือประสานกับคุณครูท่านอื่นที่ใช้ห้องคอมฯ ก่อนหน้าว่าจะใช้คอมฯ ต่อในคาบถัดไป เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้ามาถึงแล้วใช้โปรแกรมได้เลย นอกจากนั้น ครูกิ๊กยังกลับไปดูบทเรียนในโปรแกรมเลิร์นเอ็ดดูเคชั่นล่วงหน้าว่า ในโปรแกรมสอนเรื่องอะไรบ้าง ครูจะได้เลือกว่า บทเรียนไหนที่ให้เด็กเรียนกับโปรแกรมหรือบทเรียนไหนที่ครูจะสอนเอง เช่น……. – เรื่อง รูปเรขาคณิต เด็กๆ เรียนในโปรแกรมแล้ว เห็นภาพเคลื่อนไหวชัดเจน ทำให้เด็กเข้าใจง่ายกว่าการที่ครูจะเขียนรูป 2 มิติบนกระดาน – เรื่อง สถิติ  ในโปรแกรมเหมือนพาเด็กๆ ออกจากห้องเรียน ด้วยการมีคลิปวีดิโอพานักเรียนไปดูวิธีการเก็บข้อมูลทางสถิติ การทำแบบสอบถามและนำเสนอเป็นสถิติ ทำให้เด็กๆ … Read more คอมจะสอนดีกว่าครูได้อย่างไร?

“รู้แล้วทำไมยังทำอีก”

นักเรียนชั้น ม.5 คนหนึ่ง เล่าว่า.. เวลาที่เธอเข้าไปปรึกษาปัญหากับผู้ใหญ่ หลายครั้งที่เธอรู้ในสิ่งที่ตนเองทำผิดพลาด แต่การถูกตอกย้ำด้วยคำพูดเหล่านั้นยิ่งทำให้เธอตั้งกำแพงขึ้นมา และไม่กล้าไปปรึกษา เพราะ พื้นที่ตรงนั้นไม่ใช่ “พื้นที่ปลอดภัย” สำหรับเธอ ครูต้น ครูแนะแนวผู้พยายามสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้นักเรียน แต่ก่อนที่จะมาถึงวันนี้ ครูต้นก็รู้สึกว่าตนเองเคยเป็นคนที่ ‘ตัดสิน’ นักเรียนมาก่อน ตลอดระยะเวลา15 ปี ที่เป็นครูแนะแนว เวลาที่มีนักเรียนมาปรึกษาปัญหา ครูต้นใช้กระบวนการให้คำปรึกษาตามหลักจิตวิทยาและการแนะแนว แต่มีบางครั้งที่ครูต้นก็เผลอคิดว่า… “ปัญหาแบบนี้ ก็ต้องแก้แบบนี้สิ”  คำตอบที่มาจากประสบการณ์ของผู้ใหญ่อาจกลายเป็นคำตอบสำเร็จรูปที่ไม่ได้ใช้กับเด็กได้ทุกคน และที่สำคัญวิธีการเหล่านั้น ไม่ใช่คำตอบที่มาจากตัวของเด็กเอง จนกระทั่ง ครูต้นได้เข้าร่วมอบรม  “โครงการครูแนะแนวรุ่นใหม่สร้างเด็กไทยให้ออกแบบชีวิตตนเองได้”  ภาพที่เกิดขึ้นครั้งแรกที่เข้าร่วมอบรม ไม่ได้เป็นไปอย่างที่ครูต้นคาดหวังไว้ ครูแนะแนวทุกท่านที่มาที่นี่ร่วมกิจกรรมโดยนั่งพื้น เล่นเกม ทำกิจกรรมไม่ต่างจากเด็ก แต่นี่คือ สิ่งที่ องค์กรอาชีฟ (a-chieve) ผู้จัดโครงการครูแนะแนวรุ่นใหม่ฯ ต้องการให้คุณครูเป็นผู้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของตนเองก่อนที่จะนำกระบวนการต่างๆไปใช้จริงกับนักเรียน  กระบวนการที่ครูต้นสนใจและอยากนำกลับมาใช้ คือ “การสร้างพื้นที่ปลอดภัย” และ “การรับฟังแบบไม่ตัดสิน” ช่วงแรกที่ครูต้นพยายามเอากระบวนการที่ได้จากการอบรมกลับมาใช้ในโรงเรียน ไม่ใช่เรื่องง่ายดาย หรือสวยหรูอย่างที่คิดไว้  ครูต้นพยายามสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้นักเรียน สอนให้เด็กๆรู้จักฟังกันโดยครูต้นทำเป็นแบบอย่าง แต่ครูต้นก็ยังถูกนักเรียนล้อในช่วงแรกด้วยประโยคที่ครูต้นมักจะพูดกับเด็กๆ นั่นคือ   “ถ้ามีคนพูดต้องมีคนฟัง”  บางทีสอนๆอยู่ … Read more “รู้แล้วทำไมยังทำอีก”

“ผมเรียนจากการอ่านปากครู”

‘เก้า’ นักเรียนชั้น ม.3  ผู้ชื่นชอบการเตะฟุตบอล แต่สิ่งที่เก้าชอบมากกว่าคือการนั่งมองไปที่สนาม เห็นเพื่อนๆแข่งบอลแล้วคิดว่าจะทำยังไงให้ทีมชนะ  เก้าชอบมองภาพว่าเพื่อนวิ่งจากจุดนี้ไปอีกจุดใช้เวลาประมาณเท่าไหร่ ในหัวของเก้าก็มักจะคาดคะเนคร่าวๆ แต่เวลาอยู่ในห้องเรียน ตัวหนังสือบนกระดานกลับเป็นอุปสรรคเสียเหลือเกิน  เก้าต้องใช้เวลาในการมองตัวอักษร  ประสมสระในหัว เพราะแม้จะเป็นตัวอักษรแต่เก้ามองเป็นภาพมากกว่า ทำให้เวลาเรียนเก้าใช้วิธีการอ่านปากครูเวลาที่ครูอธิบายแทน ซึ่งทำให้เวลาที่ครูพูดเร็ว เก้ายิ่งเข้าใจสิ่งต่างๆได้ยากขึ้นไปอีก คุณครูหลายท่านจึงเป็นห่วงในเรื่องการเรียนรู้ของเก้าที่ช้ากว่าเพื่อนๆ โดยเฉพาะการอ่าน การเขียน “ไม่ใช่ทุกคนที่จะเก่งไปเสียทุกเรื่อง ทำได้ดีไปเสียทุกอย่าง แต่ว่ามันต้องมีสักเรื่องที่เราเก่งแหละ” คำพูดให้กำลังใจจากครูพลับ แม้จะมีบางเวลาที่รู้สึกว่ายากลำบากในการเรียนหนังสือ แต่เก้าเชื่อในสิ่งที่ครูพลับบอกว่า มันต้องมีสักเรื่องสินะที่เราเก่ง เก้าเริ่มค้นพบว่าเขาชอบเรียนคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะเรื่องแบบรูป แผนภูมิต้นไม้ คุณพ่อของเก้าก็คอยสนับสนุนและกระตุ้นให้เก้าทำแบบฝึกหัดมาล่วงหน้า แต่เวลาคุณครูเฉลยหรือแสดงวิธีทำบนกระดาน ก็ยังคงเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับเก้ามาก เมื่อใดก็ตามที่ครูพูดอธิบายโดยไม่เขียนบนกระดานไปด้วยจะยิ่งทำให้เก้า ‘เรียนตามไม่ทัน’  จนกระทั่ง คุณครูพลับได้นำโปรแกรม  “Learn Education” เข้ามาใช้ในคาบเรียนคณิตศาสตร์ เก้าเริ่มเข้าใจคณิตศาสตร์มากขึ้น เพราะในโปรแกรมมีตัวอย่างภาพ และเขียนแสดงวิธีทำอย่างละเอียดแบบที่เก้าสามารถกดหยุดดู กดย้อนหลัง และจดตามได้ อีกทั้งช่วยเอื้อให้เก้าจดจ่อกับการเรียนคณิตศาสตร์ได้มากยิ่งขึ้น  ครูพลับยังกระตุ้นให้นักเรียนทุกคนในห้องทำแบบฝึกหัดมาล่วงหน้า ข้อไหนทำได้ทำมาก่อนได้เลยโดยไม่ต้องรอครูสั่ง แต่ถ้าเรื่องไหนยังทำไม่ได้ ครูก็จะอธิบายในห้องเรียนพร้อมๆกัน  ทั้งแรงกระตุ้นจากคุณพ่อ คุณครู มีเครื่องมือเข้ามาช่วย ประกอบกับความขยันและความพยายามของตัวเก้าเอง  เก้าลองทำแบบฝึกหัดมาล่วงหน้าโดยเป็นเรื่องที่ครูยังไม่ได้สอน ผลปรากฏว่า… … Read more “ผมเรียนจากการอ่านปากครู”

โรงเรียนที่เราอยากส่งลูกหลานไปเรียนต้องเป็นอย่างไร?

โรงเรียนที่เราอยากส่งลูกหลานไปเรียนต้องเป็นอย่างไร? “ถ้าเป็นอย่างนี้ อยู่ไม่ได้แน่”  เมื่อ 11 ปีที่แล้ว ผอ.พจนพร จิตเจริญทวีโชค ได้เข้ามารับตำแหน่งผู้อำนวยการที่ ‘รุจิรพัฒน์’ โรงเรียนติดชายแดนไทย-พม่า อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี  ภาพแรกที่พบ โรงเรียนแห่งนี้ไม่ได้ใกล้เคียงกับภาพโรงเรียนในฝันเลย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่ารก  ห้องน้ำที่มีก็กลายเป็นห้องน้ำร้าง สภาพภายในเลอะเทอะ โถส้วมเต็มไปด้วยกองไม้ ประตูหักพัง เนื่องจากที่บ้านนักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้มีห้องน้ำ เวลาปลดทุกข์ก็เข้าป่าแล้วใช้ไม้เช็ดก้น เมื่อมาโรงเรียน ทำให้เด็ก ๆ ไม่รู้เลยว่าส้วมใช้ยังไง หลังจากทำธุระเสร็จ จึงไม่ได้ราดน้ำและทิ้งกองไม้ไว้ในโถส้วมเต็มไปหมด  ผอ.พจนพรคิดว่าหากปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไป คงไม่ไหวแน่ ท่านจึงเริ่มพัฒนาจากการสอนเด็กให้ใช้ห้องน้ำเป็นก่อน แต่การทำงานครั้งนี้ไม่ใช่การทำงานเพียงคนเดียว ผอ.และคณะครูร่วมกันปลูกฝังการใช้ห้องน้ำให้ถูกสุขลักษณะ โดยบูรณาการเรื่อง สุขา ไปในทุกรายวิชา ตั้งแต่วิธีการใช้ส้วม การชำระทำความสะอาดร่างกายและการรักษาความสะอาดห้องน้ำ  ทว่า พฤติกรรมที่เคยชินมาเป็นระยะเวลานานไม่ได้ถูกเปลี่ยนได้ในเวลาเพียง 2-3 วัน แม้ว่าเด็ก ๆ จะถูกสอนที่โรงเรียนแบบนี้ แต่เมื่อกลับไปที่บ้าน บ้านของแต่ละคนไม่มีห้องน้ำให้ใช้ เขาก็วนกลับไปสู่วงจรเดิม  เด็ก ๆ เกิดความรู้สึกต่อต้านเพราะเขาไม่รู้ถึงโทษจากการใช้ส้วมผิดสุขลักษณะ ไม่รู้ว่าพฤติกรรมที่เขาทำจะก่อให้เกิดโรคอะไรตามมาบ้าง ยิ่งเปรียบเทียบการเข้าห้องน้ำกับการเข้าป่า เดินเข้าไปในป่าจึงเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าสำหรับพวกเขา คุณครูและผอ.ไม่ยอมแพ้เพียงเท่านี้ … Read more โรงเรียนที่เราอยากส่งลูกหลานไปเรียนต้องเป็นอย่างไร?

ไม่ได้คิดว่าจะเป็นครู

‘แบงค์’  ผู้โตมาท่ามกลางสังคมเมืองกรุง เรียนหลักสูตรอินเตอร์ และเคยไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น เขาเคยคิดว่า “อาชีพครูงานหนัก เงินเดือนน้อย” จึงไม่ใช่อาชีพที่เขาอยากจะเป็น ตอนนั้นเขาคิดว่าต้องเป็นเภสัช ตามความคาดหวังของที่บ้าน แต่ชีวิตการเรียนของเขาไม่ได้ราบรื่นสวยงามเขารู้สึกว่า เขาไม่เหมาะกับสายวิทย์-คณิตฯ หรือแม้กระทั่งสายศิลป์ เพราะในมุมมองของแบงค์ เขามองว่าการเลือกเรียนต่อในสายสามัญ มีทางเลือกน้อยเกินไป  คนเก่งก็จะเลือกเรียนสายวิทย์-คณิต ขณะที่คนเรียนไม่เก่ง ต้องเลือกเรียนสายศิลป์ เขาที่พอเรียนทุกสายได้แต่ไม่ถึงกับเก่ง จึงรู้สึกทุกข์ที่หาเส้นทางที่เหมาะสมของตัวเองไม่ได้ ไม่เพียงแต่เรื่องเรียน ความสัมพันธ์ที่มีกับเพื่อน คนรอบตัว เขาเองก็รู้สึกว่าตัวเองไม่ถนัดในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น  จึงมักจะเลี่ยงการทำงานที่ต้องพบปะกับคนจำนวนมากจนกระทั่ง เรียนจบมา ทำธุรกิจของครอบครัว แล้วก้าวสู่การเป็นหัวหน้าแบงค์รู้เลยว่า ปมในใจอย่างหนึ่งที่เขาไม่เคยถูกแก้ไขเลย คือ เรื่องความสัมพันธ์กับผู้อื่น แบงค์กลายเป็นหัวหน้าที่ไม่เข้าใจคน  ไม่เข้าใจการพัฒนาลูกน้อง  “ทำไมลูกน้องไม่ฟังฉันเลย” จนกระทั่ง แบงค์ได้รู้จักกับ โครงการทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ (Teach For Thailand) ที่ไปสอนนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส เขาจึงตัดสินใจว่าอยากพักงานที่ดูแลธุรกิจของครอบครัวไว้ก่อนแล้วไปเป็นครู เนื่องจากครูเป็นอาชีพที่ต้องทำงานร่วมกับคน “ถ้าอยากทำบุญเราหาเงินเยอะๆ แล้วมาบริจาคให้พวกเด็กๆ ก็ได้ ไม่เห็นต้องมาเป็นครู” “การมาเป็นครูมันก็ช่วยเหลือเด็กได้แค่ไม่กี่คน ถึงแบงค์ไม่ได้มาเป็นครูก็มีคนอื่นมาเป็นแทนอยู่ดี” เสียงคัดค้านจากคนในครอบครัวแต่แบงค์ยังคงแน่วแน่ที่อยากจะเป็นครู  เขาสมัครและผ่านการคัดเลือก กลายมาเป็น ครูสอนวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ ในตอนแรก ครูแบงค์ก็ไม่ได้เข้าใจเด็ก  “ภาษาอังกฤษที่ฉันสอนมันง่ายนะเนี่ย ทำไมนักเรียนไม่ฟังฉัน” … Read more ไม่ได้คิดว่าจะเป็นครู

เรื่องวันดีจากครูวันดี

ด.ช.วันดี กลับมาเรียนชั้น ม.1 หลังจากที่เขาหยุดเรียนไป 2 ปี ทำให้วันดีมีพื้นฐานน้อยกว่าเพื่อนในห้องเดียวกัน เวลาครูบอกคำสั่งอะไรก็ตามในห้องเรียน ครูต้องอธิบายหลายรอบกว่าวันดีจะเข้าใจว่าครูให้ทำอะไร การสื่อสารด้วยภาษาไทยในการเรียนวิชาทั่วไปว่ายากแล้ว ถ้าเป็นการเรียนภาษาอังกฤษยิ่งยากกว่า วันดีแทบจะไม่ค่อยรู้คำศัพท์  แต่หากครูสะกดทีละตัวอักษรให้ วันดีก็พอจะเขียนตัวอักษรได้แต่ช้า เขายังสับสนระหว่างตัว b กับ d และใช้เวลาคิดว่าแต่ละตัวอักษรต้องเขียนอย่างไร  ความบังเอิญของเรื่องนี้ คือ วันดีได้เรียนภาษาอังกฤษกับคุณครูที่มีชื่อว่า “ครูวันดี” (ชื่อเขียนเหมือนกันเป๊ะ) คุณครูวันดีทราบว่าพื้นฐานนักเรียนหลายคนที่เข้ามาเรียน ม.1 บางคนก็มีปัญหาคล้ายกับวันดี เพราะเด็กบางคนแทบจะไม่ค่อยได้เรียนภาษาอังกฤษมาเลยในตอนชั้นประถม เนื่องจากโรงเรียนที่เคยเรียนขาดครูผู้สอนที่จบตรงเอกภาษาอังกฤษ ช่วงแรก การเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ม.1 ที่เข้าใหม่ยังขลุกขลักอยู่มาก เพราะไม่ใช่แค่ ด.ช.วันดีเพียงคนเดียว ยังมีนักเรียนอีกหลายคนที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษต่ำกว่าเกณฑ์  ในหนึ่งคาบเรียนครูวันดีสอนเนื้อหาได้ไม่มากเพราะต้องค่อยๆ อธิบายเพื่อให้นักเรียนทุกคนตามได้ทัน  คุณครูวันดี จึงพยายามทำให้การเรียนภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับเด็กๆ ก่อน โดยเริ่มต้นคาบเรียนด้วยการนำคลิปใน Youtube มาให้นักเรียนดูเพื่อดึงดูดความสนใจ  หลังจากนั้นก็จะให้นักเรียนเขียนพร้อมกัน ไปแบบช้าๆ สอนทีละเรื่อง หลังจากเขียนเสร็จ ครูก็จะให้ทุกคนยืนอ่าน เพื่อมั่นใจว่าทุกคนได้ฝึกทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน  จนกระทั่งวันหนึ่ง โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน ได้นำเครื่องมือหนึ่ง … Read more เรื่องวันดีจากครูวันดี

ชีวิตกำลังสอนอะไรเราอยู่ ?

ชีวิตใน 1 สัปดาห์ของ น้องไนท์ (นักเรียนชั้น ม.5) คือ การไปโรงเรียนวันจันทร์ ~ ศุกร์ และทำงานพิเศษวันเสาร์~ อาทิตย์ ไนท์ก็เหมือนจะต้องทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์ ย้อนไปเมื่อ 5 ปีที่แล้วไนท์เรียนอยู่ชั้น ป.6 ไนท์เกือบไม่ได้เรียนต่อมัธยมเพราะฐานะทางบ้านแต่เขาก็สู้ด้วยการพยายามขอทุนเรียนต่อจนกระทั่ง ไนท์ได้รับทุนยุวพัฒน์ซึ่งเป็นทุนการศึกษาที่ให้ต่อเนื่องตั้งแต่ ม.1 จนถึง ม.6 โดยได้ทุน ปีละ 7,000 บาท และเป็นทุนให้เปล่า ถึงแม้ว่าไนท์จะได้ ทุนยุวพัฒน์ ที่เข้ามาช่วยค่าเทอม ค่าอุปกรณ์การเรียน  แต่ไนท์ก็ยังทำงานพิเศษหารายได้มามาใช้จ่ายในครอบครัว รวมถึงดูแลสุขภาพแม่และยาย ไนท์เริ่มทำงานก่อสร้างช่วงปิดเทอม ด้วยการขนปูน ขนหินอ่อน ขึ้น-ลง บันได 5 ชั้น วันละหลายรอบ ปูกระเบื้อง ลงยาแนวเวลาที่จะปูกระเบื้อง ก็ต้องคำนวณพื้นที่ว่าจะต้องใช้กระเบื้องจำนวนเท่าไหร่และไนท์ยังอยากที่จะเรียนรู้การเป็นช่างไฟเพิ่ม จนตอนนี้ไนท์อยู่ชั้น ม.5 แล้วไนท์ได้งานพิเศษ วันเสาร์-อาทิตย์ที่โรงน้ำใกล้บ้านในแต่ละวัน ไนท์ก็จะต้องแกะฝา เอาซีนออกแล้วฉีดน้ำแรงดันสูงเพื่อทำความสะอาดขวดน้ำทั้งภายในและภายนอกกะตำแหน่งให้น้ำไหลลงตรงขวดและใส่น้ำให้พอดี ไม่ล้นออกมา จากการทำงานหารายได้ด้วยตนเอง ทำให้ไนท์เห็นคุณค่าของเงินทุกบาททุกสตางค์ รวมถึงเงินทุนยุวพัฒน์ที่ถูกนำมาใช้จ่ายกับการเรียนอย่างแท้จริง “ผมเชื่อว่า หากไขว่คว้า สักวันจะได้สิ่งที่ดีกว่าอย่างเเน่นอนผมคิดว่าผมจะตอบแทนให้ได้ด้วยการช่วยเด็กนักเรียนทุนยุวพัฒน์คนอื่น ผมมั่นใจว่าในอนาคต ผมทำได้” … Read more ชีวิตกำลังสอนอะไรเราอยู่ ?

เด็กน้อย ครูไม่พอ โรงเรียนห่างไกล ใครจะไปเรียน?

เมื่อปี 2558  ณ โรงเรียนวังข่อยพิทยา จ.นครสวรรค์ โรงเรียนที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘โรงเรียนมัธยมประจำตำบล’ แต่มีนักเรียน ม.1 – ม.6 เพียงร้อยกว่าคนครูที่นี่ อยู่กันปี สองปี ก็ย้ายกลับบ้านต่างจังหวัด (เนื่องจากนโยบายขณะนั้น อนุญาตให้ครูบรรจุใหม่ที่อยู่ครบ 2 ปี สามารถย้ายกลับภูมิลำเนาเดิมได้) ครูที่ยังสอนอยู่ ไม่ได้สอนตามเอกที่เรียนมา เช่น เป็นครูชีววิทยาแต่ต้องไปสอนคณิตศาสตร์เพราะครูไม่พอ “เรียนไปทำไม” “ทำไมต้องมาเรียนที่นี่” ท่ามกลางความสงสัยของเด็กและผู้ใหญ่บางคนที่ยังไม่ได้เห็นความสำคัญของการศึกษา หรือบางคนเห็นความสำคัญของการศึกษาแต่เลือกที่จะไปเรียนในเมืองมากกว่าด้วยบริบทที่ท้าทายเหล่านี้ จุดประกายให้ ผอ.รังสิวุฒิ พยายามหาทางที่จะพัฒนาโรงเรียนไม่ว่าจะมีเวทีไหนของชุมชน ผอ.ก็จะไปพูดเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและทำให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการศึกษ จนกระทั่ง ผอ.รังสิวุฒิไปประชุมผู้บริหาร  “รู้จักโครงการร้อยพลังการศึกษาไหม?” “มันคืออะไรครับ” “เขามีเครื่องมือทางการศึกษาให้โรงเรียนเอาไปใช้” ตอนนั้น ผอ.รังสิวุฒิสนใจอยากรู้จักโครงการร้อยพลังการศึกษาจึงไปหาข้อมูลและทำหนังสือขอเข้าร่วมโครงการฯ  แม้ว่าตอนนั้น ยังมีผอ.โรงเรียนอื่นๆ ไม่เข้าร่วม แต่ผอ.รังสิวุฒิไม่ลังเล เพราะคิดว่าเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักเรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบใหม่ๆ เครื่องมือแรกที่โรงเรียนวังข่อยพิทยานำมาใช้ คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สอนคณิตศาสตร์ที่ชื่อว่า เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น (Learn Education) แต่โรงเรียนไม่มีคอมพิวเตอร์เพียงพอสำหรับนักเรียนหนึ่งห้อง และไม่มีงบประมาณที่จะจัดซื้อได้ผอ.รังสิวุฒิจึงปรึกษากับทีมงานโครงการร้อยพลังการศึกษาว่าจะทำยังไงได้บ้างทีมงานได้ประสานงานจัดหาคอมพิวเตอร์มือสองมาให้ จนนักเรียนได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เรียนคณิตศาสตร์เป็นครั้งแรก ดูเหมือนว่าทุกอย่างเริ่มราบรื่น ทว่า… “ใช้โปรแกรมสอนจะดีกว่าคนสอนได้ไง” … Read more เด็กน้อย ครูไม่พอ โรงเรียนห่างไกล ใครจะไปเรียน?