ต่างชนเผ่าแต่เราสามัคคี

ณ โรงเรียนห้วยน้ำขุ่นวิทยา จ.เชียงราย เด็กๆ ที่มาจากต่างชนเผ่า ทั้งจีนยูนนาน อาข่า อาเข่อ ลาหู่ มักจะยกพวกตีกันเป็นประจำ ผอ.กับคุณครูจึงช่วยกันคิดว่า จะทำยังไงให้เด็กนักเรียนของเราเกิดความสามัคคีกัน? หลังจากการปรึกษาหารือระหว่างผอ.และคณะครู  ทาง โรงเรียนห้วยน้ำขุ่นวิทยา จึงคิดนำหลักลูกเสือ ซึ่งสอดแทรกการสร้างคุณธรรมด้านระเบียบวินัยให้กับนักเรียนก่อน   ในช่วงแรก การฝึกระเบียบแถวให้นักเรียนไม่ใช่ว่าจะเริ่มฝึกนักเรียนได้เลย  แต่เป็นการพัฒนาครูทั้งโรงเรียนให้มีความรู้ โดยครูทุกคนเข้ารับการฝึกอบรมการเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือครูจึงนำทักษะความรู้มาขยายผลสู่นักเรียน ให้นักเรียนฝึกระเบียบแถวเมื่อนักเรียนมีเป้าหมายเดียวกัน ได้พยายามร่วมกัน จากความรู้สึกแบ่งพรรคแบ่งพวกว่าเราแตกต่างกันทางวัฒนธรรม กลายมาเป็นความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและรู้สึกถึงความเป็นเพื่อน “การที่เด็กได้อยู่ด้วยกัน ซ้อมด้วยกัน ทำให้เขาเป็นเพื่อนกัน” การฝึกระเบียบแถวของห้วยน้ำขุ่น ไม่ได้หยุดเพียงแค่ในโรงเรียนแต่ขยายผลไปยังการแข่งขัน ระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศ  จนได้รับรางวัลระดับจังหวัง 6 ปีซ้อน และได้รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ เมื่อปี 61 จนได้รับรางวัลระดับจังหวัด 6 ปีซ้อน และได้รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ เมื่อปี 61  ไม่เพียงแต่การใช้หลักการลูกเสือพัฒนาคุณธรรมให้นักเรียนแล้วยังมีโครงงานครูต้นแบบ ที่ใช้กระบวนการยอมรับ การร่วมตกลงจากคุณครูทุกคน  เมื่อก่อนบริบทครูบนดอย เย็นมาก็ดื่มสังสรรค์กัน เพราะอยู่บ้านพักครูด้วยกันตลอดจันทร์-ศุกร์ซึ่งก็มีนักเรียนบางส่วนพักอยู่ในโรงเรียน แต่พอโรงเรียนนำเรื่อง โครงการโรงเรียนคุณธรรม เข้ามาใช้ ครูจึงตกลงกันว่า “เราจะไม่ดื่มแอลกอฮอล์ในสถานศึกษา” พอไม่ดื่ม … Read more ต่างชนเผ่าแต่เราสามัคคี

โรงเรียนที่เราอยากส่งลูกหลานไปเรียนต้องเป็นอย่างไร?

โรงเรียนที่เราอยากส่งลูกหลานไปเรียนต้องเป็นอย่างไร? “ถ้าเป็นอย่างนี้ อยู่ไม่ได้แน่”  เมื่อ 11 ปีที่แล้ว ผอ.พจนพร จิตเจริญทวีโชค ได้เข้ามารับตำแหน่งผู้อำนวยการที่ ‘รุจิรพัฒน์’ โรงเรียนติดชายแดนไทย-พม่า อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี  ภาพแรกที่พบ โรงเรียนแห่งนี้ไม่ได้ใกล้เคียงกับภาพโรงเรียนในฝันเลย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่ารก  ห้องน้ำที่มีก็กลายเป็นห้องน้ำร้าง สภาพภายในเลอะเทอะ โถส้วมเต็มไปด้วยกองไม้ ประตูหักพัง เนื่องจากที่บ้านนักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้มีห้องน้ำ เวลาปลดทุกข์ก็เข้าป่าแล้วใช้ไม้เช็ดก้น เมื่อมาโรงเรียน ทำให้เด็ก ๆ ไม่รู้เลยว่าส้วมใช้ยังไง หลังจากทำธุระเสร็จ จึงไม่ได้ราดน้ำและทิ้งกองไม้ไว้ในโถส้วมเต็มไปหมด  ผอ.พจนพรคิดว่าหากปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไป คงไม่ไหวแน่ ท่านจึงเริ่มพัฒนาจากการสอนเด็กให้ใช้ห้องน้ำเป็นก่อน แต่การทำงานครั้งนี้ไม่ใช่การทำงานเพียงคนเดียว ผอ.และคณะครูร่วมกันปลูกฝังการใช้ห้องน้ำให้ถูกสุขลักษณะ โดยบูรณาการเรื่อง สุขา ไปในทุกรายวิชา ตั้งแต่วิธีการใช้ส้วม การชำระทำความสะอาดร่างกายและการรักษาความสะอาดห้องน้ำ  ทว่า พฤติกรรมที่เคยชินมาเป็นระยะเวลานานไม่ได้ถูกเปลี่ยนได้ในเวลาเพียง 2-3 วัน แม้ว่าเด็ก ๆ จะถูกสอนที่โรงเรียนแบบนี้ แต่เมื่อกลับไปที่บ้าน บ้านของแต่ละคนไม่มีห้องน้ำให้ใช้ เขาก็วนกลับไปสู่วงจรเดิม  เด็ก ๆ เกิดความรู้สึกต่อต้านเพราะเขาไม่รู้ถึงโทษจากการใช้ส้วมผิดสุขลักษณะ ไม่รู้ว่าพฤติกรรมที่เขาทำจะก่อให้เกิดโรคอะไรตามมาบ้าง ยิ่งเปรียบเทียบการเข้าห้องน้ำกับการเข้าป่า เดินเข้าไปในป่าจึงเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าสำหรับพวกเขา คุณครูและผอ.ไม่ยอมแพ้เพียงเท่านี้ … Read more โรงเรียนที่เราอยากส่งลูกหลานไปเรียนต้องเป็นอย่างไร?

เด็กน้อย ครูไม่พอ โรงเรียนห่างไกล ใครจะไปเรียน?

เมื่อปี 2558  ณ โรงเรียนวังข่อยพิทยา จ.นครสวรรค์ โรงเรียนที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘โรงเรียนมัธยมประจำตำบล’ แต่มีนักเรียน ม.1 – ม.6 เพียงร้อยกว่าคนครูที่นี่ อยู่กันปี สองปี ก็ย้ายกลับบ้านต่างจังหวัด (เนื่องจากนโยบายขณะนั้น อนุญาตให้ครูบรรจุใหม่ที่อยู่ครบ 2 ปี สามารถย้ายกลับภูมิลำเนาเดิมได้) ครูที่ยังสอนอยู่ ไม่ได้สอนตามเอกที่เรียนมา เช่น เป็นครูชีววิทยาแต่ต้องไปสอนคณิตศาสตร์เพราะครูไม่พอ “เรียนไปทำไม” “ทำไมต้องมาเรียนที่นี่” ท่ามกลางความสงสัยของเด็กและผู้ใหญ่บางคนที่ยังไม่ได้เห็นความสำคัญของการศึกษา หรือบางคนเห็นความสำคัญของการศึกษาแต่เลือกที่จะไปเรียนในเมืองมากกว่าด้วยบริบทที่ท้าทายเหล่านี้ จุดประกายให้ ผอ.รังสิวุฒิ พยายามหาทางที่จะพัฒนาโรงเรียนไม่ว่าจะมีเวทีไหนของชุมชน ผอ.ก็จะไปพูดเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและทำให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการศึกษ จนกระทั่ง ผอ.รังสิวุฒิไปประชุมผู้บริหาร  “รู้จักโครงการร้อยพลังการศึกษาไหม?” “มันคืออะไรครับ” “เขามีเครื่องมือทางการศึกษาให้โรงเรียนเอาไปใช้” ตอนนั้น ผอ.รังสิวุฒิสนใจอยากรู้จักโครงการร้อยพลังการศึกษาจึงไปหาข้อมูลและทำหนังสือขอเข้าร่วมโครงการฯ  แม้ว่าตอนนั้น ยังมีผอ.โรงเรียนอื่นๆ ไม่เข้าร่วม แต่ผอ.รังสิวุฒิไม่ลังเล เพราะคิดว่าเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักเรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบใหม่ๆ เครื่องมือแรกที่โรงเรียนวังข่อยพิทยานำมาใช้ คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สอนคณิตศาสตร์ที่ชื่อว่า เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น (Learn Education) แต่โรงเรียนไม่มีคอมพิวเตอร์เพียงพอสำหรับนักเรียนหนึ่งห้อง และไม่มีงบประมาณที่จะจัดซื้อได้ผอ.รังสิวุฒิจึงปรึกษากับทีมงานโครงการร้อยพลังการศึกษาว่าจะทำยังไงได้บ้างทีมงานได้ประสานงานจัดหาคอมพิวเตอร์มือสองมาให้ จนนักเรียนได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เรียนคณิตศาสตร์เป็นครั้งแรก ดูเหมือนว่าทุกอย่างเริ่มราบรื่น ทว่า… “ใช้โปรแกรมสอนจะดีกว่าคนสอนได้ไง” … Read more เด็กน้อย ครูไม่พอ โรงเรียนห่างไกล ใครจะไปเรียน?