ผู้ให้จากการเห็นคุณค่าของสิ่งที่ได้รับ

‘เอิร์น’ นักเรียนหญิง ชั้น ม.2 ที่คอยไปเรียงถาดอาหารกลางวัน จัดแถวน้องประถมเข้าโต๊ะรับประทานอาหาร  มีเด็กๆ หลายคนชอบเล่นกัน แกล้งกัน จนถาดข้าวหกเลอะเทอะ บางคนทำน้ำหกใส่ข้าว เอิร์นก็จะพาน้องไปเปลี่ยนถาดข้าว พอน้องทานอาหารเสร็จ เอิร์นจะมาช่วยเก็บกวาดทำความสะอาดอาหารที่หกอยู่บนพื้น สิ่งที่เอิร์นทำอยู่ คือ การตอบแทนโรงเรียนและคุณครูที่อนุญาตให้เธอรับประทานอาหารกลางวันร่วมกับเด็กประถม  ความจริงแล้วที่โรงเรียนมีโครงการอาหารกลางวันฟรีเฉพาะแค่นักเรียนชั้นประถม ส่วนนักเรียนมัธยมจะต้องซื้ออาหารกลางวันเองที่โรงอาหาร แต่เนื่องจากบางวัน เอิร์นแทบจะไม่มีเงินมาโรงเรียนเลย คุณครูจึงอนุญาตให้เอิร์นรับประทานอาหารกลางวันกับน้องๆ ได้ ย้อนไปเมื่อตอนที่เอิร์นอยู่ชั้น ป.6 คุณครูสังเกตว่าเด็กคนนี้เป็นเด็กที่มีน้ำใจ เวลาที่วัดแถวบ้านมีงานบุญ เอิร์นก็จะไปช่วยล้างจานที่วัดตลอด  เวลามีงานตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งที่โรงเรียน ครูจะถามนักเรียนว่า  “มีใครอยากนำข้าวสารกลับบ้านไหม” นักเรียนบางคนก็อายที่จะอุ้มถุงข้าวสารกลับบ้าน แต่ไม่ใช่สำหรับเอิร์น เอิร์นไม่เคยอายที่จะเข้าไปขอถุงข้าวสารกลับบ้าน โดยคุณครูมาทราบภายหลังว่า เอิร์นอาศัยอยู่กับคุณปู่คุณย่า  คุณปู่ที่เคยเป็นเสาหลักของบ้านได้รับอุบัติเหตุขาขาด ทำให้ไม่สามารถออกไปทำงานได้เหมือนเมื่อก่อน  รายรับของครอบครัวจึงมาจากเบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุ ซึ่งแค่ใช้จ่ายค่ากับข้าวในแต่ละวันก็แทบจะไม่เพียงพอ  เอิร์นจึงเริ่มทำงานหารายได้เสริม เริ่มจากการรับจ้างถอนผมหงอกให้ผู้ใหญ่แถวบ้าน ได้เงินครั้งละประมาณ 5-10 บาท  ไปรับจ้างเสียบมันสำปะหลัง ตัดอ้อย หักฝักข้าวโพด เก็บถั่วเก็บพริก เก็บหน่อไม้ฝรั่งตามไร่ ได้ชั่วโมงละ 30 บาท ตอนบ่ายก็จะรับจ้างถางหญ้า แต่ส่วนใหญ่แล้วงานถางหญ้าไม่ค่อยจะมีคนจ้างเด็กเท่าไหร่ … Read more ผู้ให้จากการเห็นคุณค่าของสิ่งที่ได้รับ

“ปัญหาก็เหมือนยาขม”

“น้อยหน่า” สาวน้อยเสียงเพราะเธอไปประกวดร้องเพลงตามเวทีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเวทีงานวัดไปจนถึงการแข่งขันระดับภาคเธอก็คว้ารางวัลชนะเลิศมาแล้ว น้อยหน่าใฝ่ฝันว่าอยากจะเป็นศิลปินตั้งแต่เด็กจะได้หาเงินส่งตัวเองเรียนและช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ ถึงน้อยหน่าอยากจะเป็นนักร้อง แต่ไม่ได้หมายความว่าเธอจะทิ้งการเรียน น้อยหน่ารู้ว่าต่อให้เธอจะเป็นนักร้อง  การศึกษาก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเธอในอนาคต   ทั้งความลำบากของพ่อกับแม่ที่น้อยหน่าเห็นมา ทำให้เธอตั้งใจว่าจะต้องเรียนให้สูงจะได้มีงานดีๆทำและเลี้ยงดูพ่อแม่กับน้องได้ในทุกๆ คืน น้อยหน่าต้องตื่นตอน 21.30 น. มาก่อไฟให้พ่อคั้นมะพร้าวเพื่อทำขนมถ้วย หลังจากนั้นเธอก็จะได้เข้านอนตอน 23.30น. แต่ถ้าเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ น้อยหน่าจะอยู่ช่วยพ่อทำขนมถ้วยจนเสร็จ  พ่อทำขนมถ้วยเสร็จประมาณ 03.30 น. ถึงจะปลุกแม่ให้นำขนมไปขายเนื่องจากว่าพ่อหัวเข่าไม่ดี เพราะเคยถูกรถชนแม่จึงเป็นผู้นำขนมถ้วยไปขายที่ตลาดทุกเช้า  น้อยหน่าช่วยพ่อแม่ทำขนมถ้วยตั้งแต่ประถม และไปประกวดร้องเพลงแม้จะได้เงินรางวัลจากมาบ้าง แต่มันก็ไม่เพียงพอต่อการเรียนต่อในระดับมัธยมและค่าใช้จ่ายในบ้านที่มีสมาชิกสี่คน แม่และน้องมีโรคประจำตัวเป็นโรคหอบ มีค่าใช้จ่ายในการรักษา น้อยหน่าคิดที่จะเสียสละหยุดเรียนออกมาทำงาน และส่งน้องเรียนต่อ คุณครูเห็นว่าน้อยหน่ามีความขยันและพยายามที่ช่วยเหลือครอบครัว จึงให้น้อยหน่าเขียนเรียงความและเอกสารขอทุนไปยังมูลนิธิยุวพัฒน์ จนในที่สุด น้อยหน่าได้รับคัดเลือกให้เป็น “นักเรียนทุนยุวพัฒน์” จากที่เกือบจะไม่ได้เรียนต่อ และเคยไม่ตั้งใจเรียนตามประสาเด็กๆทำให้น้อยหน่าเห็นว่าโอกาสที่เธอได้รับนั้นมันทำให้เธอได้มีโอกาสเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นไม่อย่างนั้น น้อยหน่าคงเรียนจบแค่ ป.6  หลังจากนั้นมาน้อยหน่าก็พยายามมากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น จนผลการเรียนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากที่เคยได้เกรด 1 กลายเป็นเกรด 3 กว่าๆ ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ตัวเลขที่เพิ่มขึ้น แต่มันสะท้อนความพยายามความตั้งใจ และการเห็นคุณค่าของโอกาสที่ตนเองได้รับ  การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มีความรับผิดชอบ และมีเป้าหมายทางการเรียนที่ชัดเจนอย่างน้อยที่สุด จะต้องเรียนจนจบ ม.6 “หลังจากได้ทุน … Read more “ปัญหาก็เหมือนยาขม”

ชีวิตกำลังสอนอะไรเราอยู่ ?

ชีวิตใน 1 สัปดาห์ของ น้องไนท์ (นักเรียนชั้น ม.5) คือ การไปโรงเรียนวันจันทร์ ~ ศุกร์ และทำงานพิเศษวันเสาร์~ อาทิตย์ ไนท์ก็เหมือนจะต้องทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์ ย้อนไปเมื่อ 5 ปีที่แล้วไนท์เรียนอยู่ชั้น ป.6 ไนท์เกือบไม่ได้เรียนต่อมัธยมเพราะฐานะทางบ้านแต่เขาก็สู้ด้วยการพยายามขอทุนเรียนต่อจนกระทั่ง ไนท์ได้รับทุนยุวพัฒน์ซึ่งเป็นทุนการศึกษาที่ให้ต่อเนื่องตั้งแต่ ม.1 จนถึง ม.6 โดยได้ทุน ปีละ 7,000 บาท และเป็นทุนให้เปล่า ถึงแม้ว่าไนท์จะได้ ทุนยุวพัฒน์ ที่เข้ามาช่วยค่าเทอม ค่าอุปกรณ์การเรียน  แต่ไนท์ก็ยังทำงานพิเศษหารายได้มามาใช้จ่ายในครอบครัว รวมถึงดูแลสุขภาพแม่และยาย ไนท์เริ่มทำงานก่อสร้างช่วงปิดเทอม ด้วยการขนปูน ขนหินอ่อน ขึ้น-ลง บันได 5 ชั้น วันละหลายรอบ ปูกระเบื้อง ลงยาแนวเวลาที่จะปูกระเบื้อง ก็ต้องคำนวณพื้นที่ว่าจะต้องใช้กระเบื้องจำนวนเท่าไหร่และไนท์ยังอยากที่จะเรียนรู้การเป็นช่างไฟเพิ่ม จนตอนนี้ไนท์อยู่ชั้น ม.5 แล้วไนท์ได้งานพิเศษ วันเสาร์-อาทิตย์ที่โรงน้ำใกล้บ้านในแต่ละวัน ไนท์ก็จะต้องแกะฝา เอาซีนออกแล้วฉีดน้ำแรงดันสูงเพื่อทำความสะอาดขวดน้ำทั้งภายในและภายนอกกะตำแหน่งให้น้ำไหลลงตรงขวดและใส่น้ำให้พอดี ไม่ล้นออกมา จากการทำงานหารายได้ด้วยตนเอง ทำให้ไนท์เห็นคุณค่าของเงินทุกบาททุกสตางค์ รวมถึงเงินทุนยุวพัฒน์ที่ถูกนำมาใช้จ่ายกับการเรียนอย่างแท้จริง “ผมเชื่อว่า หากไขว่คว้า สักวันจะได้สิ่งที่ดีกว่าอย่างเเน่นอนผมคิดว่าผมจะตอบแทนให้ได้ด้วยการช่วยเด็กนักเรียนทุนยุวพัฒน์คนอื่น ผมมั่นใจว่าในอนาคต ผมทำได้” … Read more ชีวิตกำลังสอนอะไรเราอยู่ ?

เด็กน้อย ครูไม่พอ โรงเรียนห่างไกล ใครจะไปเรียน?

เมื่อปี 2558  ณ โรงเรียนวังข่อยพิทยา จ.นครสวรรค์ โรงเรียนที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘โรงเรียนมัธยมประจำตำบล’ แต่มีนักเรียน ม.1 – ม.6 เพียงร้อยกว่าคนครูที่นี่ อยู่กันปี สองปี ก็ย้ายกลับบ้านต่างจังหวัด (เนื่องจากนโยบายขณะนั้น อนุญาตให้ครูบรรจุใหม่ที่อยู่ครบ 2 ปี สามารถย้ายกลับภูมิลำเนาเดิมได้) ครูที่ยังสอนอยู่ ไม่ได้สอนตามเอกที่เรียนมา เช่น เป็นครูชีววิทยาแต่ต้องไปสอนคณิตศาสตร์เพราะครูไม่พอ “เรียนไปทำไม” “ทำไมต้องมาเรียนที่นี่” ท่ามกลางความสงสัยของเด็กและผู้ใหญ่บางคนที่ยังไม่ได้เห็นความสำคัญของการศึกษา หรือบางคนเห็นความสำคัญของการศึกษาแต่เลือกที่จะไปเรียนในเมืองมากกว่าด้วยบริบทที่ท้าทายเหล่านี้ จุดประกายให้ ผอ.รังสิวุฒิ พยายามหาทางที่จะพัฒนาโรงเรียนไม่ว่าจะมีเวทีไหนของชุมชน ผอ.ก็จะไปพูดเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและทำให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการศึกษ จนกระทั่ง ผอ.รังสิวุฒิไปประชุมผู้บริหาร  “รู้จักโครงการร้อยพลังการศึกษาไหม?” “มันคืออะไรครับ” “เขามีเครื่องมือทางการศึกษาให้โรงเรียนเอาไปใช้” ตอนนั้น ผอ.รังสิวุฒิสนใจอยากรู้จักโครงการร้อยพลังการศึกษาจึงไปหาข้อมูลและทำหนังสือขอเข้าร่วมโครงการฯ  แม้ว่าตอนนั้น ยังมีผอ.โรงเรียนอื่นๆ ไม่เข้าร่วม แต่ผอ.รังสิวุฒิไม่ลังเล เพราะคิดว่าเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักเรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบใหม่ๆ เครื่องมือแรกที่โรงเรียนวังข่อยพิทยานำมาใช้ คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สอนคณิตศาสตร์ที่ชื่อว่า เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น (Learn Education) แต่โรงเรียนไม่มีคอมพิวเตอร์เพียงพอสำหรับนักเรียนหนึ่งห้อง และไม่มีงบประมาณที่จะจัดซื้อได้ผอ.รังสิวุฒิจึงปรึกษากับทีมงานโครงการร้อยพลังการศึกษาว่าจะทำยังไงได้บ้างทีมงานได้ประสานงานจัดหาคอมพิวเตอร์มือสองมาให้ จนนักเรียนได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เรียนคณิตศาสตร์เป็นครั้งแรก ดูเหมือนว่าทุกอย่างเริ่มราบรื่น ทว่า… “ใช้โปรแกรมสอนจะดีกว่าคนสอนได้ไง” … Read more เด็กน้อย ครูไม่พอ โรงเรียนห่างไกล ใครจะไปเรียน?