เด็กแสบที่กลายเป็นแบบอย่าง

‘นิล’ นักเรียนที่ครูได้ยินชื่อแล้วต้องส่ายหน้า เป้าหมายการมาโรงเรียนของเขา คือการไปเล่นบอลอย่างเดียว นิลเคยโดดเรียนเพื่อไปเตะบอลถึง 6 คาบ/วัน เวลาถูกครูไล่ นิลก็จะหนีไปนั่งเล่นในห้องน้ำ ไม่ขึ้นเรียน บ้างก็โดดเรียนออกไปเล่นเกม ยังมีวีรกรรมที่เขียนฉายาล้อเลียนครูบนโต๊ะจนครูจับได้ ตั้งแต่ตอน ม.3 มีรุ่นพี่ชวนไปเที่ยวกลางคืน กินเหล้า นิลก็ไปเที่ยวทุกวัน  ตอนเช้าไปเรียนถ้าไม่โดดก็หลับ ไม่เคยเรียนเลย พอขึ้นมา ม.4 เกรดตกมาก ขนาดวิชาคณิตศาสตร์ที่นิลเก่งและถนัดที่สุด เขาเรียนแต่ไม่ส่งงานจึงได้แค่เกรด 1  เวลามีครูมาแนะแนวอะไร นิลก็ไม่ฟัง ตอนนั้นนิลคิดแค่ว่าจบ ม.6 มาก็คงหางานทำ เลี้ยงตัวเองได้  จนกระทั่ง นิลขึ้น ม.6 นิลออกไปเที่ยวกลางคืนกับเพื่อนอีกเช่นเคย ขากลับนิลนั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์เพื่อน จู่ๆ ก็มีของแข็งฟาดเข้าที่หัวของนิลอย่างแรง  นิลหันไปเห็นกลุ่มวัยรุ่น 3-4 คน แอบซุ่มอยู่บริเวณเกาะกลางถนน เห็นขวดแก้วหล่นอยู่ ตอนนั้น นิลรู้สึกโกรธแค้นและบอกให้เพื่อนขับรถกลับไปเอาเรื่อง  แต่มีผู้ใหญ่เห็นเหตุการณ์ รีบเข้ามาห้ามและบอกให้รีบไปโรงพยาบาล นิลหันกลับมาดูตัวเองอีกทีก็เลือดไหลเต็มตัวแล้ว นิลรู้สึกชา และเพิ่งรู้ว่าหัวของเขาแตก แก้วบาดใบหูของนิลเกือบขาด ผู้ใหญ่ท่านนั้นรีบพานิลส่งโรงพยาบาล หมอต้องเย็บแผลที่หัว 5 เข็ม … Read more เด็กแสบที่กลายเป็นแบบอย่าง

มาโรงเรียนไม่ได้เงินออกไปทำงานดีกว่า…

“ผมอยากเป็นไกด์ แต่ยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย ส่วนเพื่อนที่ลาออกไปตั้งแต่ ป.6 เป็นไกด์ที่ปางช้าง หาเงินได้ตั้งเยอะ” คำพูดของนักเรียนชาย ม.5 คนหนึ่งพูดกับ ผอ.ประเสริฐศักดิ์ เหมือนหาญ เขาอยากมีความรู้ มีทักษะที่จะไปประกอบอาชีพได้ แต่เมื่อลองเทียบตัวเองกับเพื่อนที่ไม่ได้เรียนดูกลับพบว่าเพื่อนที่ลาออกไปทำงานตั้งแต่ ป.6 เป็นไกด์นำเที่ยว มีรายได้เลี้ยงตัวเอง และพูดภาษาอังกฤษได้ดีกว่าตนที่เรียน ม.5 สายศิลป์ภาษา พอได้ฟังคำพูดของนักเรียนคนนี้แล้ว ผอ.ประเสริฐศักดิ์ ซึ่งเพิ่งย้ายมาเป็นผู้บริหารที่โรงเรียนแม่วินสามัคคีแทบเข่าทรุด เขาคิดว่าถ้าเป็นอย่างนี้แสดงว่าการเรียนการสอนที่เป็นอยู่ไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน ไม่ได้ตอบโจทย์พื้นที่ชุมชน  โรงเรียนแห่งนี้มีเด็กที่ลงมาจากบนดอย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ม้ง ปกาเกอะญอ มูเซอ ไทยใหญ่ ฯลฯ มาเรียนและพักที่โรงเรียนกว่า 300 คน เด็กหลายคนเรียนจบ ป.6 ก็ต้องออกไปช่วยพ่อแม่ทำงาน เพราะความยากลำบากและทัศนคติที่คิดว่ามาโรงเรียนไม่ได้เงิน ออกไปทำงานดีกว่า สิ่งนี้ คือ สิ่งที่โรงเรียนต้องต่อสู้ จะทำอย่างไรให้พวกเขาเห็นว่า การเรียนก็เหมือนการลงทุนที่ผลตอบแทนและกำไรอาจจะไม่ได้รวดเร็วทันใจแต่ต้องใช้เวลา ผอ.จึงอยากจะสร้างโรงเรียนแม่วินสามัคคีให้เป็นโรงเรียนนวัตกรรมต้นแบบของเชียงใหม่ แล้วจะสร้างนักเรียนของเชียงใหม่อย่างไรล่ะ ที่ตอบโจทย์เชิงพื้นที่ ทั้งวัฒนธรรม วิถีชีวิต และชุมชน ปี 2561 ที่ผ่านมาจึงมีการปรับเปลี่ยนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทมากขึ้น โดยมีการฝึกอาชีพให้กับเด็กๆ … Read more มาโรงเรียนไม่ได้เงินออกไปทำงานดีกว่า…

ยังจำตอนที่ใช้ iPhone หรือ สมาร์ทโฟน (Smart Phone) ครั้งแรกได้ไหม?

จากมือถือมีปุ่มเปลี่ยนมาใช้มือถือไร้ปุ่มกด ตอนที่หลายคนใช้ครั้งแรก อาจรู้สึกว่ามันยาก ความยากนั้นคงเป็นเพราะเรา “ไม่เคยชิน” กับการใช้งาน ทุกครั้งที่เริ่มอะไรใหม่ ๆ เรามักจะรู้สึกว่า ‘มันยาก ’ แต่ถ้ามองให้ลึกลงไป ในความยากนั้นกำลังส่งสัญญาณบอกว่าเรากำลัง ‘พัฒนา’ อยู่  เช่นเดียวกับการพูดภาษาอังกฤษ คนที่พูดคล่องตอนนี้ คือ คนที่เคยผ่านจุดที่รู้สึกว่ามันยากมาก่อนด้วยการฝึกฝนหรือสร้างความเคยชินกับมัน ทำให้การพูดภาษาอังกฤษกลายเป็นทักษะติดตัว แต่จะทำอย่างไรให้เด็กไทยก้าวผ่านขั้นแรกที่ว่า ‘มันยาก’ ไปได้? “ผมโง่ครู” “หนูอ่านไม่ออก” “ใครจะไปทำได้” กรอบความคิด (Mindset) เหล่านี้ที่ฝังอยู่ทำให้เด็ก ๆ เลือกที่จะหนีด้วยการไม่ยอมพูด ไม่ยอมอ่าน ไม่ยอมเปิดใจกับภาษาอังกฤษ  ครูดีจัง ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโครงการทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ (Teach For Thailand) คิดว่าต้องมาปรับแนวความคิดตรงนี้กันก่อน เธอจึงมองหาตัวช่วยที่ทำให้คาบภาษาอังกฤษกลายเป็นเรื่อง ‘สนุก’ ผู้ช่วยของครูดีจัง มาในรูปของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า‘วินเนอร์อิงลิช (Winner English)’ เป็นโปรแกรมสอนภาษาอังกฤษที่รูปร่างหน้าตาคล้ายกับการเล่นเกมที่ให้เด็ก ๆ ได้ฝึกฝนทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน ผ่านภาพ … Read more ยังจำตอนที่ใช้ iPhone หรือ สมาร์ทโฟน (Smart Phone) ครั้งแรกได้ไหม?

ครูคิดดีแล้วหรอ จะมาสอนที่นี่ !!

“ใหญ่” นักเรียนสุดเฮี้ยว ขณะที่ครูสอน  ใหญ่มักจะเคาะโต๊ะ ร้องเพลง ตั้งวงดนตรี หรือวาดรูปที่ขาของเพื่อน  ท่าทางของใหญ่ ก็ทำตัวใหญ่สมชื่อ เขาคือคนที่แกล้งเพื่อนแล้วเพื่อนไม่กล้าโต้ตอบ   ใหญ่เคยแกล้งเพื่อนคนหนึ่งที่กำลังตั้งใจเรียน โดยเริ่มจากการตบหัวเพื่อน โยนกระดาษใส่จนเพื่อนเรียนไม่รู้เรื่อง  ครูต้องพาเข้าห้องปกครอง พอครูปกครองถามว่าใหญ่แกล้งอะไร เพื่อนก็ไม่กล้าบอกครู เพราะกลัวอิทธิพลของใหญ่ แม้กระทั่งกับครูบางคน ใหญ่ก็เคยถีบโต๊ะต่อหน้าต่อตาครู “อาจารย์ไม่ต้องสนใจมันหรอก คนทั้งห้องรออาจารย์อยู่ เพราะยังไงไอ้นี่ก็ไม่เรียนอยู่แล้ว” “เอาใหญ่ย้ายไปอยู่ห้องอื่นได้ไหม” มุมมองที่หลายคนมองใหญ่ จึงถูกตีตราไปว่าเป็น ‘ตัวปัญหา’ เวลานอกห้องเรียน ใหญ่จับกลุ่มกับรุ่นพี่ ม.4-5 กลายเป็นแก๊งหัวโจกที่ดูมีอิทธิพลในโรงเรียน แม้ว่าขณะนั้น ใหญ่จะเป็นนักเรียนชั้น ม.2 แต่พี่ๆ ม.ปลายบางคนยังไม่กล้ายุ่งจนกระทั่ง มีครูท่านหนึ่งเข้ามาสอนในโรงเรียน  ผมสีบลอนด์ทอง ใส่กางเกงลายสก็อต เสื้อลายคล้ายเดอะทอยส์ (The Toys) สวมสร้อยคอสีเงินเส้นใหญ่  ใส่ถุงเท้าข้อสั้นกับรองเท้าหนังกุชชี่ (Gucci) “ครูกรีน”  การแต่งตัวของครูกรีนที่แปลกแหวกแนว ทำให้คุณครูในโรงเรียนต่างตั้งคำถามว่าเขาจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้นักเรียนได้หรือไม่  ส่วนนักเรียนก็พากันมองครูกรีน เพราะไม่เคยมีครูคนไหนแต่งตัวแบบนี้   ครูกรีนเข้าไปสอนในห้องวันแรก สิ่งที่ครูกรีนทำ คือ ให้นักเรียนทุกคนตั้งคำถาม “ครูมีแฟนยัง” “ครูอายุกี่ปี” “ครูรวยมั้๊ย” “ครูชอบผู้หญิง หรือชอบผู้ชาย” … Read more ครูคิดดีแล้วหรอ จะมาสอนที่นี่ !!

“พ่อใหม่หนูเป็นคนต่างชาติ หนูหลบหน้า ไม่อยากพูดกับเขาเลย”

น้องมุก นักเรียนชั้น ม.3 คนที่กลัวการใช้ภาษาอังกฤษมากๆ แม้กระทั่ง คุณพ่อชาวต่างชาติ มุกยังไม่ยอมคุยด้วย เธอมักจะหนีเข้าห้องไปดูการ์ตูนอยู่คนเดียวจนกระทั่ง มุกได้มาเรียนภาษาอังกฤษกับครูเต๋อ… ครูเต๋อ เป็น คุณครูในโครงการ Teach For Thailand จบเอกภาษาและวัฒนธรรมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงตัดสินใจมาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ เพราะเป็นวิชาที่ถนัดและรู้สึกว่าตัวเองสนุกกับการเรียนภาษาอังกฤษ         ในเทอมแรก  ครูเต๋อเข้ามาสอนด้วยความกระตือรือร้นและพลังบวก แต่พอมาสอนนักเรียนจริงๆ แล้วปรากฏว่า นักเรียนไม่สนใจเรียน หลับในห้อง เคยถึงขั้นเตะตะกร้อในห้องเรียน ทำให้ครูเต๋อถึงกับช็อค! ครูเต๋อจึงพยายามทำความเข้าใจและยอมรับความเป็นจริงว่า ‘ครูเต๋อกับนักเรียนไม่เหมือนกัน’ ไม่ใช่ทุกคนจะชอบเรียนภาษาอังกฤษเหมือนครูเต๋อ เธอจึงพยายามปรับรูปแบบการสอนใหม่และคิดว่าสิ่งเดียวที่ต้องทำคือการยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง และกล้าที่จะปรับตัวเองเพื่อนักเรียน ต้องไม่ยึดติดกับหนังสือ เพราะนั่นคือสิ่งที่ครูอยากสอน แต่อาจจะไม่ใช่สิ่งที่นักเรียนอยากเรียนก็ได้  จนเมื่อครูเต๋อได้มาสอนน้องมุก        ครูสังเกตเห็นว่า มุกมีทักษะภาษาอังกฤษน้อยกว่าเพื่อน เวลาที่ครูถามคำถาม มุกมักจะไม่ตอบ แต่พยักหน้า ครูเต๋อจึงพยายามให้กำลังใจและเปิดโอกาสในการเรียนรู้โดยให้มุกได้ลองตอบ ครูเต๋อใช้การสอนอ่านแบบโฟนิกส์ (Phonics) นั้นก็คือ วิธีการเรียนอ่าน เขียนและออกเสียงภาษาอังกฤษ โดยใช้หลักการถอดรหัสเสียงและการผสมเสียงตัวอักษร A … Read more “พ่อใหม่หนูเป็นคนต่างชาติ หนูหลบหน้า ไม่อยากพูดกับเขาเลย”

ไม่ได้คิดว่าจะเป็นครู

‘แบงค์’  ผู้โตมาท่ามกลางสังคมเมืองกรุง เรียนหลักสูตรอินเตอร์ และเคยไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น เขาเคยคิดว่า “อาชีพครูงานหนัก เงินเดือนน้อย” จึงไม่ใช่อาชีพที่เขาอยากจะเป็น ตอนนั้นเขาคิดว่าต้องเป็นเภสัช ตามความคาดหวังของที่บ้าน แต่ชีวิตการเรียนของเขาไม่ได้ราบรื่นสวยงามเขารู้สึกว่า เขาไม่เหมาะกับสายวิทย์-คณิตฯ หรือแม้กระทั่งสายศิลป์ เพราะในมุมมองของแบงค์ เขามองว่าการเลือกเรียนต่อในสายสามัญ มีทางเลือกน้อยเกินไป  คนเก่งก็จะเลือกเรียนสายวิทย์-คณิต ขณะที่คนเรียนไม่เก่ง ต้องเลือกเรียนสายศิลป์ เขาที่พอเรียนทุกสายได้แต่ไม่ถึงกับเก่ง จึงรู้สึกทุกข์ที่หาเส้นทางที่เหมาะสมของตัวเองไม่ได้ ไม่เพียงแต่เรื่องเรียน ความสัมพันธ์ที่มีกับเพื่อน คนรอบตัว เขาเองก็รู้สึกว่าตัวเองไม่ถนัดในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น  จึงมักจะเลี่ยงการทำงานที่ต้องพบปะกับคนจำนวนมากจนกระทั่ง เรียนจบมา ทำธุรกิจของครอบครัว แล้วก้าวสู่การเป็นหัวหน้าแบงค์รู้เลยว่า ปมในใจอย่างหนึ่งที่เขาไม่เคยถูกแก้ไขเลย คือ เรื่องความสัมพันธ์กับผู้อื่น แบงค์กลายเป็นหัวหน้าที่ไม่เข้าใจคน  ไม่เข้าใจการพัฒนาลูกน้อง  “ทำไมลูกน้องไม่ฟังฉันเลย” จนกระทั่ง แบงค์ได้รู้จักกับ โครงการทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ (Teach For Thailand) ที่ไปสอนนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส เขาจึงตัดสินใจว่าอยากพักงานที่ดูแลธุรกิจของครอบครัวไว้ก่อนแล้วไปเป็นครู เนื่องจากครูเป็นอาชีพที่ต้องทำงานร่วมกับคน “ถ้าอยากทำบุญเราหาเงินเยอะๆ แล้วมาบริจาคให้พวกเด็กๆ ก็ได้ ไม่เห็นต้องมาเป็นครู” “การมาเป็นครูมันก็ช่วยเหลือเด็กได้แค่ไม่กี่คน ถึงแบงค์ไม่ได้มาเป็นครูก็มีคนอื่นมาเป็นแทนอยู่ดี” เสียงคัดค้านจากคนในครอบครัวแต่แบงค์ยังคงแน่วแน่ที่อยากจะเป็นครู  เขาสมัครและผ่านการคัดเลือก กลายมาเป็น ครูสอนวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ ในตอนแรก ครูแบงค์ก็ไม่ได้เข้าใจเด็ก  “ภาษาอังกฤษที่ฉันสอนมันง่ายนะเนี่ย ทำไมนักเรียนไม่ฟังฉัน” … Read more ไม่ได้คิดว่าจะเป็นครู

เด็กน้อย ครูไม่พอ โรงเรียนห่างไกล ใครจะไปเรียน?

เมื่อปี 2558  ณ โรงเรียนวังข่อยพิทยา จ.นครสวรรค์ โรงเรียนที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘โรงเรียนมัธยมประจำตำบล’ แต่มีนักเรียน ม.1 – ม.6 เพียงร้อยกว่าคนครูที่นี่ อยู่กันปี สองปี ก็ย้ายกลับบ้านต่างจังหวัด (เนื่องจากนโยบายขณะนั้น อนุญาตให้ครูบรรจุใหม่ที่อยู่ครบ 2 ปี สามารถย้ายกลับภูมิลำเนาเดิมได้) ครูที่ยังสอนอยู่ ไม่ได้สอนตามเอกที่เรียนมา เช่น เป็นครูชีววิทยาแต่ต้องไปสอนคณิตศาสตร์เพราะครูไม่พอ “เรียนไปทำไม” “ทำไมต้องมาเรียนที่นี่” ท่ามกลางความสงสัยของเด็กและผู้ใหญ่บางคนที่ยังไม่ได้เห็นความสำคัญของการศึกษา หรือบางคนเห็นความสำคัญของการศึกษาแต่เลือกที่จะไปเรียนในเมืองมากกว่าด้วยบริบทที่ท้าทายเหล่านี้ จุดประกายให้ ผอ.รังสิวุฒิ พยายามหาทางที่จะพัฒนาโรงเรียนไม่ว่าจะมีเวทีไหนของชุมชน ผอ.ก็จะไปพูดเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและทำให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการศึกษ จนกระทั่ง ผอ.รังสิวุฒิไปประชุมผู้บริหาร  “รู้จักโครงการร้อยพลังการศึกษาไหม?” “มันคืออะไรครับ” “เขามีเครื่องมือทางการศึกษาให้โรงเรียนเอาไปใช้” ตอนนั้น ผอ.รังสิวุฒิสนใจอยากรู้จักโครงการร้อยพลังการศึกษาจึงไปหาข้อมูลและทำหนังสือขอเข้าร่วมโครงการฯ  แม้ว่าตอนนั้น ยังมีผอ.โรงเรียนอื่นๆ ไม่เข้าร่วม แต่ผอ.รังสิวุฒิไม่ลังเล เพราะคิดว่าเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักเรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบใหม่ๆ เครื่องมือแรกที่โรงเรียนวังข่อยพิทยานำมาใช้ คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สอนคณิตศาสตร์ที่ชื่อว่า เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น (Learn Education) แต่โรงเรียนไม่มีคอมพิวเตอร์เพียงพอสำหรับนักเรียนหนึ่งห้อง และไม่มีงบประมาณที่จะจัดซื้อได้ผอ.รังสิวุฒิจึงปรึกษากับทีมงานโครงการร้อยพลังการศึกษาว่าจะทำยังไงได้บ้างทีมงานได้ประสานงานจัดหาคอมพิวเตอร์มือสองมาให้ จนนักเรียนได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เรียนคณิตศาสตร์เป็นครั้งแรก ดูเหมือนว่าทุกอย่างเริ่มราบรื่น ทว่า… “ใช้โปรแกรมสอนจะดีกว่าคนสอนได้ไง” … Read more เด็กน้อย ครูไม่พอ โรงเรียนห่างไกล ใครจะไปเรียน?