“รู้แล้วทำไมยังทำอีก”

นักเรียนชั้น ม.5 คนหนึ่ง เล่าว่า.. เวลาที่เธอเข้าไปปรึกษาปัญหากับผู้ใหญ่ หลายครั้งที่เธอรู้ในสิ่งที่ตนเองทำผิดพลาด แต่การถูกตอกย้ำด้วยคำพูดเหล่านั้นยิ่งทำให้เธอตั้งกำแพงขึ้นมา และไม่กล้าไปปรึกษา เพราะ พื้นที่ตรงนั้นไม่ใช่ “พื้นที่ปลอดภัย” สำหรับเธอ ครูต้น ครูแนะแนวผู้พยายามสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้นักเรียน แต่ก่อนที่จะมาถึงวันนี้ ครูต้นก็รู้สึกว่าตนเองเคยเป็นคนที่ ‘ตัดสิน’ นักเรียนมาก่อน ตลอดระยะเวลา15 ปี ที่เป็นครูแนะแนว เวลาที่มีนักเรียนมาปรึกษาปัญหา ครูต้นใช้กระบวนการให้คำปรึกษาตามหลักจิตวิทยาและการแนะแนว แต่มีบางครั้งที่ครูต้นก็เผลอคิดว่า… “ปัญหาแบบนี้ ก็ต้องแก้แบบนี้สิ”  คำตอบที่มาจากประสบการณ์ของผู้ใหญ่อาจกลายเป็นคำตอบสำเร็จรูปที่ไม่ได้ใช้กับเด็กได้ทุกคน และที่สำคัญวิธีการเหล่านั้น ไม่ใช่คำตอบที่มาจากตัวของเด็กเอง จนกระทั่ง ครูต้นได้เข้าร่วมอบรม  “โครงการครูแนะแนวรุ่นใหม่สร้างเด็กไทยให้ออกแบบชีวิตตนเองได้”  ภาพที่เกิดขึ้นครั้งแรกที่เข้าร่วมอบรม ไม่ได้เป็นไปอย่างที่ครูต้นคาดหวังไว้ ครูแนะแนวทุกท่านที่มาที่นี่ร่วมกิจกรรมโดยนั่งพื้น เล่นเกม ทำกิจกรรมไม่ต่างจากเด็ก แต่นี่คือ สิ่งที่ องค์กรอาชีฟ (a-chieve) ผู้จัดโครงการครูแนะแนวรุ่นใหม่ฯ ต้องการให้คุณครูเป็นผู้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของตนเองก่อนที่จะนำกระบวนการต่างๆไปใช้จริงกับนักเรียน  กระบวนการที่ครูต้นสนใจและอยากนำกลับมาใช้ คือ “การสร้างพื้นที่ปลอดภัย” และ “การรับฟังแบบไม่ตัดสิน” ช่วงแรกที่ครูต้นพยายามเอากระบวนการที่ได้จากการอบรมกลับมาใช้ในโรงเรียน ไม่ใช่เรื่องง่ายดาย หรือสวยหรูอย่างที่คิดไว้  ครูต้นพยายามสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้นักเรียน สอนให้เด็กๆรู้จักฟังกันโดยครูต้นทำเป็นแบบอย่าง แต่ครูต้นก็ยังถูกนักเรียนล้อในช่วงแรกด้วยประโยคที่ครูต้นมักจะพูดกับเด็กๆ นั่นคือ   “ถ้ามีคนพูดต้องมีคนฟัง”  บางทีสอนๆอยู่ … Read more “รู้แล้วทำไมยังทำอีก”

จากคนที่เคยถูกว่า ว่าเป็นครูที่แย่ที่สุด

ลาออกจาก ‘โรงแรม’ แล้วเบนเข็มมาสู่ ‘โรงเรียน’ ครูเมย์ จบการท่องเที่ยวและโรงแรม ทำงานอยู่โรงแรมกว่า 8 ปี  แต่ในระหว่างนั้น ครูเมย์เคยเป็นอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัย ทำให้เธอมีความสุขที่ได้เห็นนักศึกษามีเป้าหมายในชีวิต นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ครูเมย์ตัดสินใจลาออกมาเป็นครูในโรงเรียนเอกชน แต่เรื่องราวการเป็นครูไม่ง่ายเลย ครูเมย์ไปสอนแต่คุมชั้นเรียนไม่ได้ จนถูกผู้ใหญ่ต่อว่า… “ครูเมย์รู้ไหมครับ ครูเมย์เป็นครูที่แย่ที่สุดในโรงเรียนเลย” “ฉันยังสามารถทำอาชีพครูได้ไหม?” เสียงก้องขึ้นในใจ การขาดประสบการณ์ ไม่มีอาวุธอะไรเลย ทำให้ครูเมย์ตัดสินใจหาวิธีติดอาวุธให้กับตัวเอง โดยการพาตัวเองไปอบรม Workshop ตามที่ต่าง ๆ และตัดสินใจเข้าร่วมโครงการทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ (Teach for Thailand) ทว่า การมาเป็นครูทีชฟอร์ไทยแลนด์ในโรงเรียนมัธยมขยายโอกาส กลับยิ่งเพิ่มความท้าทาย เมื่อครูเมย์เข้าไปในโรงเรียนแบบที่ความตั้งใจเต็มเปี่ยม มีร้อยให้ร้อย ด้วยความเชื่อและความหวังที่อยากให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ ครูเมย์นอนตี 1 ตี 2  ตื่นแต่เช้า ลากกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ที่ข้างในใส่สื่อการสอนไว้ คล้ายจะเดินทาง (จนครูพี่เลี้ยงยังถามว่าจะไปไหน) มาโรงเรียนทุกวัน เพราะครูเมย์ตั้งใจอยากจะนำสิ่งที่ดีที่สุดให้นักเรียน โดยที่ครูเมย์ลืมสังเกตไปเลยว่าความมุ่งมั่นของครูเกินร้อย แต่..ของนักเรียนล่ะ?? ความสวนทางระหว่าง ‘ความตั้งใจของครู’ กับ ‘ความร่วมมือของนักเรียน’ … Read more จากคนที่เคยถูกว่า ว่าเป็นครูที่แย่ที่สุด