ถ้าย้อนเวลากลับไปได้จะเลือกเรียนอะไร

ตอนเด็กๆ ที่ครูให้เขียนอาชีพที่ใฝ่ฝัน บางคน..ได้เป็นในสิ่งที่เขียน บางคน..ค้นพบตัวเองใหม่ แต่บางคน..อาจไม่ได้เป็นสิ่งที่อยากเป็นเพราะ ‘กลัว’ อะไรบางอย่าง ‘น้องแพร’ สาวน้อยใส่แว่นที่คนอื่นอาจมองว่าเธอเป็นเด็กเรียน แต่ในมุมของแพรเอง เธอไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นเด็กเรียน เพราะก็มีบางวิชาที่แพรไม่อยากเรียนถึงขั้นอยากจะหนี และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอเริ่มคิดว่าถ้าขึ้น ม.4 จะเรียนสายไหนดีเพื่อจะได้ไม่ต้องเรียนวิชานั้น คิดว่านักเรียน ม.3 อย่างแพร ไม่อยากเรียนวิชาอะไรคะ? ณ ตอนนั้นวิชาที่เปรียบเสมือนยาขมของแพร คือ ‘คณิตศาสตร์’ แพรไม่ชอบคณิตมาตั้งแต่ประถม เวลาถึงคาบคณิตฯ ทีไร แพรอยากจะหายตัวไปเลย แต่แล้ววันหนึ่ง… เมื่อแพรไปเจอเหตุการณ์คนประสบอุบัติเหตุ วินาทีที่ได้ยินเสียงดังโครม! มองเห็นร่างของผู้บาดเจ็บนอนอยู่ที่พื้น แพรอยากวิ่งเข้าไปช่วยทำอะไรบางอย่างก็ได้ที่จะช่วยคนตรงหน้าแต่แพรทำอะไรไม่ได้เลยแพรไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหนตอนนั้น ความคิดที่ผุดขึ้นมาในหัว “ถ้าเราเป็นหมอก็คงดี” แต่กลับมีอีกเสียงค้านว่า “แต่จะเป็นหมอก็ต้องเรียนคณิตฯสิ เราไม่ชอบเรียนวิชานี้เลย” จนกระทั่ง ที่โรงเรียนได้นำเครื่องมือทางการศึกษาใหม่เข้ามาให้นักเรียนได้ใช้ในรายวิชา คณิตศาสตร์ ชื่อว่า “เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น (Learn Education)” การเรียนคณิตศาสตร์ผ่านโปรแกรมเลิร์น เอ็ดดูเคชั่น ทำให้แพรเรียนจากการเห็นภาพ สามารถทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเอง จากความกลัวกลายเป็นเริ่มสนุก ผ่อนคลายและกลายเป็นความชอบเพราะพอเข้าใจมากขึ้นก็ทำให้ชอบคณิตฯมากขึ้น “ดีมากๆ เลยค่ะที่มีเครื่องมือเข้ามา มันเข้าใจมากกว่าเดิม เรียนเพลินไม่เครียด ตอนต้น ๆ … Read more ถ้าย้อนเวลากลับไปได้จะเลือกเรียนอะไร

โอกาสเล็กๆที่เราหยิบยื่นให้กับใครบางคน อาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตของเขา

“การศึกษา คือ การลงทุน” เราคงคุ้นชินกับวลีนี้จนดูเป็นเรื่องธรรมดาที่เห็นอยู่ในชีวิตประจำวัน แต่กับใครบางคน มันแสดงถึงความเจ็บปวด เพราะถ้าหากไม่มี ‘ต้นทุนชีวิต’มากพอ เขาจะไปต่อได้อย่างไร? เราได้เดินทางไปพบกับเด็กหญิงคนหนึ่งหน้าตาน่ารัก เธอยิ้มทักเราด้วยใบหน้าที่ร่าเริงแจ่มใส  สีนวล เป็นเด็กหญิงคนหนึ่งที่ครอบครัวอาศัยอยู่บนดอยและทำมาหากินด้วยการรับจ้างทำการเกษตร  การเดินทางมาโรงเรียนก็ยากลำบาก วันหนึ่ง สีนวลถามคุณครูศุภราพรว่า “คุณครูคะ ทำไมเสื้อผ้าของครูกับเพื่อนบางคนถึงเรียบจังเลย กระโปรงก็ดูสวย” พอก้มลงมองที่กระโปรงของตัวเอง ก็เห็นความแตกต่างกระโปรงที่รีดเรียบเป็นจีบคม ดูสวยงาม ทำให้สีนวลสงสัยว่าคนอื่นๆ เขาทำอย่างนั้นได้อย่างไรกัน คุณครูตอบเธอกลับไปด้วยความเอ็นดู “เขาใช้เตารีด รีดผ้ากันจ้ะ” “เตารีดหรอคะ” “ใช่จ้ะ ไว้ครูจะสอนสีนวลรีดผ้านะ” หลังจากวันนั้น สีนวลก็มีโอกาสได้จับเตารีดและฝึกรีดผ้าที่บ้านของคุณครูศุภราพรซึ่งอยู่ไม่ไกลจากโรงเรียนสีนวลไปโรงเรียนด้วยความมั่นใจมากยิ่งขึ้นด้วยเสื้อผ้าเรียบ กระโปรงจีบสวย รอยยิ้มน่ารักของเธอปรากฏให้คุณครูได้เห็นความน่ารักสดใสและเป็นเด็กดีของสีนวลคงทำให้ใครหลาย ๆ คน ดังเช่น คุณครูและผู้พบเห็นอดเอ็นดูในความน่ารักของเธอไม่ได้แต่แล้ววันหนึ่งในคาบเรียนชั้นป.6 ครูสังเกตเห็นว่าท่าทีของสีนวลได้เปลี่ยนไป ท่าทีที่สดใสและรอยยิ้มของเธอนั้นหายไป การเรียนก็ตกลง เวลาอยู่ในห้องเรียนก็นั่งเหม่อลอย  เกิดอะไรขึ้น? “ถึงเรียนไปก็ต้องออกไปเป็นลูกจ้างเขาอยู่ดี” มีเสียงหนึ่งดังในหัวของสีนวลเวลาเริ่มนับถอยหลังเรื่อย ๆ เมื่อความจริงที่เธอเผชิญอยู่ คือ สีนวลจะได้เรียนถึงแค่ ป.6 เนื่องจากการมาโรงเรียนในแต่ละวันจะต้องมีภาระค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามมา ค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่าบำรุงการศึกษา ค่าประกันที่นักเรียนทุกคนต้องมี ค่าอาหาร ค่าเดินทาง … Read more โอกาสเล็กๆที่เราหยิบยื่นให้กับใครบางคน อาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตของเขา

“คนที่ทำให้หนูมีรอยยิ้มที่สุดในชั่วโมงเรียน”

ความใฝ่ฝันวัยเด็กของใครหลายๆ คน คงได้รับแรงบันดาลใจมาจากต้นแบบในชีวิต ในบรรดาบุคคลเหล่านั้น มีบุคคลสำคัญท่านหนึ่งในชีวิตของเรา นั่นคือ “ครู” เดิมทีน้องมาย เป็นเด็กที่ไม่ค่อยยิ้มหรือหัวเราะและมองว่าตัวเองมีความสุขน้อยกว่าคนอื่นเพราะเธอมักจะเก็บเรื่องราวความกังวลใจไว้คนเดียวไม่กล้าบอกใคร แต่อะไรที่ ครูมล สิรามล ตันศิริ (ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง โครงการทีชฟอร์ไทยแลนด์) ทำให้น้องมายกลับมามีเสียงหัวเราะอีกครั้ง “หนูไม่เคยอยากเป็นครูเลย แต่ครูมลก็ทำให้หนูอยากเป็นครู เวลาอยู่กับครูหนูมีความสุขมากที่สุดครูสอนแบบสร้างสรรค์และน่าสนใจ ทำให้เด็กที่ไม่รู้อะไรเลยสักเรื่องอย่างหนู ได้เรียนรู้อย่างรวดเร็วทำให้เด็กมีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ มีความสุขกับการที่ได้เรียนมากขึ้น ครูมลมีพลังทุกวันที่มาสอน” สิ่งที่น่าสนใจ คือ เมื่อเราไปสัมภาษณ์ครูมล ครูมลมองว่าสิ่งที่เธอทำเป็นเรื่องธรรมดาๆ เธอไม่ได้ปฏิบัติกับนักเรียนคนไหนในห้องเป็นพิเศษเพราะครูมลมองเห็น “เด็กทุกคนเท่ากัน” จากการสังเกตห้องเรียนของครูมลพบว่า ตอนสอนครูมลจะให้ความสนใจกับนักเรียนทุกคน โดยสุ่มให้ตอบคำถามเป็นเลขที่และพูดชื่นชมพฤติกรรมที่เหมาะสมเป็นรายบุคคลอย่างเฉพาะเจาะจง  เพื่อให้นักเรียนที่ทำได้รู้สึกภูมิใจและคนอื่นๆ ในห้องได้เห็นว่าครูต้องการให้นักเรียนมีพฤติกรรมแบบไหน เวลาทำแบบฝึกหัด ครูมลก็จะเดินไปหานักเรียนทุกคนที่โต๊ะ มีการพูดคุย แซว ถามไถ่เรื่องต่างๆ ไม่ใช่แค่เรื่องเรียน แต่นักเรียนสามารถพูดคุยกับครูมลได้ทุกเรื่อง ทำให้ช่องว่างระหว่างครูและนักเรียนลดน้อยลง  ครูมลพยายามชื่นชมพฤติกรรมที่เด็กทำได้ดีในทันที หรือ ใช้การเขียน Reflection เป็นการชื่นชมหรือให้คำแนะนำกับนักเรียนในสมุดของแต่ละคน สิ่งที่ดูธรรมดาในสายตาครูแต่เป็นการทำด้วยความจริงใจ ใส่ใจ และกระทำอย่างต่อเนื่อง ครูอาจจะมองว่าเป็นเรื่องเล็กๆ ในแต่ละวัน ในแต่ละคาบเรียน แต่ความจริงในอีกมุมของนักเรียน … Read more “คนที่ทำให้หนูมีรอยยิ้มที่สุดในชั่วโมงเรียน”

จากคนที่เคยถูกว่า ว่าเป็นครูที่แย่ที่สุด

ลาออกจาก ‘โรงแรม’ แล้วเบนเข็มมาสู่ ‘โรงเรียน’ ครูเมย์ จบการท่องเที่ยวและโรงแรม ทำงานอยู่โรงแรมกว่า 8 ปี  แต่ในระหว่างนั้น ครูเมย์เคยเป็นอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัย ทำให้เธอมีความสุขที่ได้เห็นนักศึกษามีเป้าหมายในชีวิต นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ครูเมย์ตัดสินใจลาออกมาเป็นครูในโรงเรียนเอกชน แต่เรื่องราวการเป็นครูไม่ง่ายเลย ครูเมย์ไปสอนแต่คุมชั้นเรียนไม่ได้ จนถูกผู้ใหญ่ต่อว่า… “ครูเมย์รู้ไหมครับ ครูเมย์เป็นครูที่แย่ที่สุดในโรงเรียนเลย” “ฉันยังสามารถทำอาชีพครูได้ไหม?” เสียงก้องขึ้นในใจ การขาดประสบการณ์ ไม่มีอาวุธอะไรเลย ทำให้ครูเมย์ตัดสินใจหาวิธีติดอาวุธให้กับตัวเอง โดยการพาตัวเองไปอบรม Workshop ตามที่ต่าง ๆ และตัดสินใจเข้าร่วมโครงการทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ (Teach for Thailand) ทว่า การมาเป็นครูทีชฟอร์ไทยแลนด์ในโรงเรียนมัธยมขยายโอกาส กลับยิ่งเพิ่มความท้าทาย เมื่อครูเมย์เข้าไปในโรงเรียนแบบที่ความตั้งใจเต็มเปี่ยม มีร้อยให้ร้อย ด้วยความเชื่อและความหวังที่อยากให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ ครูเมย์นอนตี 1 ตี 2  ตื่นแต่เช้า ลากกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ที่ข้างในใส่สื่อการสอนไว้ คล้ายจะเดินทาง (จนครูพี่เลี้ยงยังถามว่าจะไปไหน) มาโรงเรียนทุกวัน เพราะครูเมย์ตั้งใจอยากจะนำสิ่งที่ดีที่สุดให้นักเรียน โดยที่ครูเมย์ลืมสังเกตไปเลยว่าความมุ่งมั่นของครูเกินร้อย แต่..ของนักเรียนล่ะ?? ความสวนทางระหว่าง ‘ความตั้งใจของครู’ กับ ‘ความร่วมมือของนักเรียน’ … Read more จากคนที่เคยถูกว่า ว่าเป็นครูที่แย่ที่สุด