ผู้ให้จากการเห็นคุณค่าของสิ่งที่ได้รับ

‘เอิร์น’ นักเรียนหญิง ชั้น ม.2 ที่คอยไปเรียงถาดอาหารกลางวัน จัดแถวน้องประถมเข้าโต๊ะรับประทานอาหาร  มีเด็กๆ หลายคนชอบเล่นกัน แกล้งกัน จนถาดข้าวหกเลอะเทอะ บางคนทำน้ำหกใส่ข้าว เอิร์นก็จะพาน้องไปเปลี่ยนถาดข้าว พอน้องทานอาหารเสร็จ เอิร์นจะมาช่วยเก็บกวาดทำความสะอาดอาหารที่หกอยู่บนพื้น สิ่งที่เอิร์นทำอยู่ คือ การตอบแทนโรงเรียนและคุณครูที่อนุญาตให้เธอรับประทานอาหารกลางวันร่วมกับเด็กประถม  ความจริงแล้วที่โรงเรียนมีโครงการอาหารกลางวันฟรีเฉพาะแค่นักเรียนชั้นประถม ส่วนนักเรียนมัธยมจะต้องซื้ออาหารกลางวันเองที่โรงอาหาร แต่เนื่องจากบางวัน เอิร์นแทบจะไม่มีเงินมาโรงเรียนเลย คุณครูจึงอนุญาตให้เอิร์นรับประทานอาหารกลางวันกับน้องๆ ได้ ย้อนไปเมื่อตอนที่เอิร์นอยู่ชั้น ป.6 คุณครูสังเกตว่าเด็กคนนี้เป็นเด็กที่มีน้ำใจ เวลาที่วัดแถวบ้านมีงานบุญ เอิร์นก็จะไปช่วยล้างจานที่วัดตลอด  เวลามีงานตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งที่โรงเรียน ครูจะถามนักเรียนว่า  “มีใครอยากนำข้าวสารกลับบ้านไหม” นักเรียนบางคนก็อายที่จะอุ้มถุงข้าวสารกลับบ้าน แต่ไม่ใช่สำหรับเอิร์น เอิร์นไม่เคยอายที่จะเข้าไปขอถุงข้าวสารกลับบ้าน โดยคุณครูมาทราบภายหลังว่า เอิร์นอาศัยอยู่กับคุณปู่คุณย่า  คุณปู่ที่เคยเป็นเสาหลักของบ้านได้รับอุบัติเหตุขาขาด ทำให้ไม่สามารถออกไปทำงานได้เหมือนเมื่อก่อน  รายรับของครอบครัวจึงมาจากเบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุ ซึ่งแค่ใช้จ่ายค่ากับข้าวในแต่ละวันก็แทบจะไม่เพียงพอ  เอิร์นจึงเริ่มทำงานหารายได้เสริม เริ่มจากการรับจ้างถอนผมหงอกให้ผู้ใหญ่แถวบ้าน ได้เงินครั้งละประมาณ 5-10 บาท  ไปรับจ้างเสียบมันสำปะหลัง ตัดอ้อย หักฝักข้าวโพด เก็บถั่วเก็บพริก เก็บหน่อไม้ฝรั่งตามไร่ ได้ชั่วโมงละ 30 บาท ตอนบ่ายก็จะรับจ้างถางหญ้า แต่ส่วนใหญ่แล้วงานถางหญ้าไม่ค่อยจะมีคนจ้างเด็กเท่าไหร่ … Read more ผู้ให้จากการเห็นคุณค่าของสิ่งที่ได้รับ

มาโรงเรียนไม่ได้เงินออกไปทำงานดีกว่า…

“ผมอยากเป็นไกด์ แต่ยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย ส่วนเพื่อนที่ลาออกไปตั้งแต่ ป.6 เป็นไกด์ที่ปางช้าง หาเงินได้ตั้งเยอะ” คำพูดของนักเรียนชาย ม.5 คนหนึ่งพูดกับ ผอ.ประเสริฐศักดิ์ เหมือนหาญ เขาอยากมีความรู้ มีทักษะที่จะไปประกอบอาชีพได้ แต่เมื่อลองเทียบตัวเองกับเพื่อนที่ไม่ได้เรียนดูกลับพบว่าเพื่อนที่ลาออกไปทำงานตั้งแต่ ป.6 เป็นไกด์นำเที่ยว มีรายได้เลี้ยงตัวเอง และพูดภาษาอังกฤษได้ดีกว่าตนที่เรียน ม.5 สายศิลป์ภาษา พอได้ฟังคำพูดของนักเรียนคนนี้แล้ว ผอ.ประเสริฐศักดิ์ ซึ่งเพิ่งย้ายมาเป็นผู้บริหารที่โรงเรียนแม่วินสามัคคีแทบเข่าทรุด เขาคิดว่าถ้าเป็นอย่างนี้แสดงว่าการเรียนการสอนที่เป็นอยู่ไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน ไม่ได้ตอบโจทย์พื้นที่ชุมชน  โรงเรียนแห่งนี้มีเด็กที่ลงมาจากบนดอย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ม้ง ปกาเกอะญอ มูเซอ ไทยใหญ่ ฯลฯ มาเรียนและพักที่โรงเรียนกว่า 300 คน เด็กหลายคนเรียนจบ ป.6 ก็ต้องออกไปช่วยพ่อแม่ทำงาน เพราะความยากลำบากและทัศนคติที่คิดว่ามาโรงเรียนไม่ได้เงิน ออกไปทำงานดีกว่า สิ่งนี้ คือ สิ่งที่โรงเรียนต้องต่อสู้ จะทำอย่างไรให้พวกเขาเห็นว่า การเรียนก็เหมือนการลงทุนที่ผลตอบแทนและกำไรอาจจะไม่ได้รวดเร็วทันใจแต่ต้องใช้เวลา ผอ.จึงอยากจะสร้างโรงเรียนแม่วินสามัคคีให้เป็นโรงเรียนนวัตกรรมต้นแบบของเชียงใหม่ แล้วจะสร้างนักเรียนของเชียงใหม่อย่างไรล่ะ ที่ตอบโจทย์เชิงพื้นที่ ทั้งวัฒนธรรม วิถีชีวิต และชุมชน ปี 2561 ที่ผ่านมาจึงมีการปรับเปลี่ยนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทมากขึ้น โดยมีการฝึกอาชีพให้กับเด็กๆ … Read more มาโรงเรียนไม่ได้เงินออกไปทำงานดีกว่า…

“ปัญหาก็เหมือนยาขม”

“น้อยหน่า” สาวน้อยเสียงเพราะเธอไปประกวดร้องเพลงตามเวทีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเวทีงานวัดไปจนถึงการแข่งขันระดับภาคเธอก็คว้ารางวัลชนะเลิศมาแล้ว น้อยหน่าใฝ่ฝันว่าอยากจะเป็นศิลปินตั้งแต่เด็กจะได้หาเงินส่งตัวเองเรียนและช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ ถึงน้อยหน่าอยากจะเป็นนักร้อง แต่ไม่ได้หมายความว่าเธอจะทิ้งการเรียน น้อยหน่ารู้ว่าต่อให้เธอจะเป็นนักร้อง  การศึกษาก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเธอในอนาคต   ทั้งความลำบากของพ่อกับแม่ที่น้อยหน่าเห็นมา ทำให้เธอตั้งใจว่าจะต้องเรียนให้สูงจะได้มีงานดีๆทำและเลี้ยงดูพ่อแม่กับน้องได้ในทุกๆ คืน น้อยหน่าต้องตื่นตอน 21.30 น. มาก่อไฟให้พ่อคั้นมะพร้าวเพื่อทำขนมถ้วย หลังจากนั้นเธอก็จะได้เข้านอนตอน 23.30น. แต่ถ้าเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ น้อยหน่าจะอยู่ช่วยพ่อทำขนมถ้วยจนเสร็จ  พ่อทำขนมถ้วยเสร็จประมาณ 03.30 น. ถึงจะปลุกแม่ให้นำขนมไปขายเนื่องจากว่าพ่อหัวเข่าไม่ดี เพราะเคยถูกรถชนแม่จึงเป็นผู้นำขนมถ้วยไปขายที่ตลาดทุกเช้า  น้อยหน่าช่วยพ่อแม่ทำขนมถ้วยตั้งแต่ประถม และไปประกวดร้องเพลงแม้จะได้เงินรางวัลจากมาบ้าง แต่มันก็ไม่เพียงพอต่อการเรียนต่อในระดับมัธยมและค่าใช้จ่ายในบ้านที่มีสมาชิกสี่คน แม่และน้องมีโรคประจำตัวเป็นโรคหอบ มีค่าใช้จ่ายในการรักษา น้อยหน่าคิดที่จะเสียสละหยุดเรียนออกมาทำงาน และส่งน้องเรียนต่อ คุณครูเห็นว่าน้อยหน่ามีความขยันและพยายามที่ช่วยเหลือครอบครัว จึงให้น้อยหน่าเขียนเรียงความและเอกสารขอทุนไปยังมูลนิธิยุวพัฒน์ จนในที่สุด น้อยหน่าได้รับคัดเลือกให้เป็น “นักเรียนทุนยุวพัฒน์” จากที่เกือบจะไม่ได้เรียนต่อ และเคยไม่ตั้งใจเรียนตามประสาเด็กๆทำให้น้อยหน่าเห็นว่าโอกาสที่เธอได้รับนั้นมันทำให้เธอได้มีโอกาสเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นไม่อย่างนั้น น้อยหน่าคงเรียนจบแค่ ป.6  หลังจากนั้นมาน้อยหน่าก็พยายามมากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น จนผลการเรียนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากที่เคยได้เกรด 1 กลายเป็นเกรด 3 กว่าๆ ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ตัวเลขที่เพิ่มขึ้น แต่มันสะท้อนความพยายามความตั้งใจ และการเห็นคุณค่าของโอกาสที่ตนเองได้รับ  การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มีความรับผิดชอบ และมีเป้าหมายทางการเรียนที่ชัดเจนอย่างน้อยที่สุด จะต้องเรียนจนจบ ม.6 “หลังจากได้ทุน … Read more “ปัญหาก็เหมือนยาขม”