กระบวนการของอาชีฟ จุดไฟบางอย่างในตัวเรา

ทำให้เราว้าว!! ว้าวนั้นก็คือ ทำให้เรารู้จักตัวเอง จะปรับตัวเข้าหาคนอื่นอย่างไร ทำให้เรารับฟังอย่างตั้งใจจริงๆ   ในปีแรกที่ครูศิริพร คำชวด หรือครูหนิง เริ่มสอนที่โรงเรียนวังข่อยพิทยา จ.นครสวรรค์ ครูหนิงสอนวิชาคณิตศาสตร์นักเรียนชั้น ม.ปลาย แต่ขณะเดียวกันก็ต้องรับบทครูประจำชั้นนักเรียนชั้น ม.2 และทำหน้าที่ครูแนะแนวด้วย เธอบอกว่าตอนนั้นคิดหนัก เพราะไม่มีประสบการณ์ทั้งการแนะแนวเด็ก หรือการได้รับแนะแนวมาก่อน ครูหนิงได้เห็นคุณครูที่เคยผ่านการอบรมครูแนะแนวรุ่นใหม่ สร้างเด็กไทยให้ออกแบบชีวิตตนเองได้กับอาชีฟ (a-chieve) จัดกระบวนการสอนแนะแนวในห้องเรียนได้อย่างน่าสนใจ เด็กๆ กล้าพูดคุยกับครู กล้าบอกสิ่งที่ต้องการจริงๆ ครูหนิงเล่าว่า “ก็มามองตัวเองว่าเรายังทำไม่ได้ เราถาม เด็กเงียบ เขาไม่ได้ไว้วางใจเราว่าจะช่วยเขาแก้ปัญหาได้ จะรับฟังเขาจริงๆ เราไม่รู้จะทำอย่างไร” เธอได้รับการแนะนำให้เข้าร่วมอบรมโครงการครูแนะแนวรุ่นใหม่ฯ รุ่น 3 ครูหนิงจึงตั้งใจกรอกใบสมัคร เพื่อให้ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมการอบรม ซึ่งเธอก็ได้เข้าร่วมในที่สุด “กระบวนการ 1-2 วันแรก เราสนุกกับกิจกรรม แต่ยังไม่รู้ว่าจัดเพื่ออะไร มารู้ตัวอีกทีวันสุดท้ายว่า เขาอยากให้เรารู้จักตัวเองจากทุกกิจกรรมที่เขาจัด ไม่ใช่การมานั่งฟังวิทยากร 1 คนบรรยายหน้าห้อง เขาพาเราทำกิจกรรม ซึ่งทุกกิจกรรมเรานำกลับมาใช้ได้จริงๆ เป็นกิจกรรมที่ดึงดูดความสนใจเด็ก ทำให้เขาสามารถเรียนรู้ตัวเองได้” ครูหนิงกล่าว ครูหนิงเข้ามาเป็นครูประจำชั้นแทนครูคนก่อนที่ขอย้ายกลับบ้าน … Read more กระบวนการของอาชีฟ จุดไฟบางอย่างในตัวเรา

จากคนที่เคยถูกว่า ว่าเป็นครูที่แย่ที่สุด

ลาออกจาก ‘โรงแรม’ แล้วเบนเข็มมาสู่ ‘โรงเรียน’ ครูเมย์ จบการท่องเที่ยวและโรงแรม ทำงานอยู่โรงแรมกว่า 8 ปี  แต่ในระหว่างนั้น ครูเมย์เคยเป็นอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัย ทำให้เธอมีความสุขที่ได้เห็นนักศึกษามีเป้าหมายในชีวิต นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ครูเมย์ตัดสินใจลาออกมาเป็นครูในโรงเรียนเอกชน แต่เรื่องราวการเป็นครูไม่ง่ายเลย ครูเมย์ไปสอนแต่คุมชั้นเรียนไม่ได้ จนถูกผู้ใหญ่ต่อว่า… “ครูเมย์รู้ไหมครับ ครูเมย์เป็นครูที่แย่ที่สุดในโรงเรียนเลย” “ฉันยังสามารถทำอาชีพครูได้ไหม?” เสียงก้องขึ้นในใจ การขาดประสบการณ์ ไม่มีอาวุธอะไรเลย ทำให้ครูเมย์ตัดสินใจหาวิธีติดอาวุธให้กับตัวเอง โดยการพาตัวเองไปอบรม Workshop ตามที่ต่าง ๆ และตัดสินใจเข้าร่วมโครงการทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ (Teach for Thailand) ทว่า การมาเป็นครูทีชฟอร์ไทยแลนด์ในโรงเรียนมัธยมขยายโอกาส กลับยิ่งเพิ่มความท้าทาย เมื่อครูเมย์เข้าไปในโรงเรียนแบบที่ความตั้งใจเต็มเปี่ยม มีร้อยให้ร้อย ด้วยความเชื่อและความหวังที่อยากให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ ครูเมย์นอนตี 1 ตี 2  ตื่นแต่เช้า ลากกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ที่ข้างในใส่สื่อการสอนไว้ คล้ายจะเดินทาง (จนครูพี่เลี้ยงยังถามว่าจะไปไหน) มาโรงเรียนทุกวัน เพราะครูเมย์ตั้งใจอยากจะนำสิ่งที่ดีที่สุดให้นักเรียน โดยที่ครูเมย์ลืมสังเกตไปเลยว่าความมุ่งมั่นของครูเกินร้อย แต่..ของนักเรียนล่ะ?? ความสวนทางระหว่าง ‘ความตั้งใจของครู’ กับ ‘ความร่วมมือของนักเรียน’ … Read more จากคนที่เคยถูกว่า ว่าเป็นครูที่แย่ที่สุด